ความชุกและการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล และแลคติกแอสิดแบคทีเรียที่แยกได้จากโคขุนที่ส่งเข้าโรงฆ่าในจังหวัดสกลนคร

ความชุกและการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล และแลคติกแอสิดแบคทีเรียที่แยกได้จากโคขุนที่ส่งเข้าโรงฆ่าในจังหวัดสกลนคร

Prevalence and Antimicrobial resistance of Escherichia coli and Lactic Acid Bacteria Isolated from Slaughter Fattening Beef Cattle in Sakon Nakhon Province

--------------------------------------------

โดย นาง จักรพรรดิ์ ประชาชิต1 ไพรัตน์ ศรแผลง2 และชุลีพร ศักดิ์สง่าวงษ์3 Jakkapat Prachachit1 Pairat Sornpla

ผู้แต่งร่วม จักรพรรดิ์ ประชาชิต1 ไพรัตน์ ศรแผลง2 และชุลีพร ศักดิ์สง่าวงษ์3 Jakkapat Prachachit1 Pairat Sornplang2 and Chuleeporn Saksangawong3

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 16 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-05-25 21:05:40

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุก และการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อ Escherichia coli และแลคติกแอสิดแบคทีเรียที่แยกได้จากโคขุนที่ส่งเข้าโรงฆ่าในจังหวัดสกลนคร โดยเก็บตัวอย่างจากกระพุ้งลำไส้ใหญ่โคขุน จำนวน 140 ตัวอย่าง พบว่าความชุกของเชื้อ E. coli คิดเป็นร้อยละ 93.57 และความชุกของแลคติกแอสิดแบคทีเรีย คิดเป็นร้อยละ 90.00 นำไอโซเลตมาทำการทดสอบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ จำนวน 11 ชนิด ด้วยวิธี disc diffusion พบว่าเชื้อ E. coli มีอัตราการดื้อยาดังนี้ Penicillin G ร้อยละ 99.24 Tetracycline ร้อยละ 56.06 Nalidixic acid ร้อยละ 18.18 Streptomycin ร้อยละ 15.91 Ciprofloxacin และ Cefotaxime เท่ากัน ร้อยละ 12.88 Ampicillin ร้อยละ 10.60 Sulfamethoxazole/Trimethoprim ร้อยละ 9.85 Gentamycin ร้อยละ 9.10 Chloramphenicol ร้อยละ 6.82 และ Kanamycin ร้อยละ 3.37 และพบรูปแบบของการดื้อยาหลายชนิดทั้งหมด 43 รูปแบบ อย่างไรก็ตามพบความถี่ในการดื้อต่อยา Tetracycline ร่วมกับ Penicillin G มากกว่ารูปแบบอื่น ส่วนแลคติกแอสิดแบคทีเรียมีอัตราการดื้อยาดังนี้ Tetracycline ร้อยละ 41.13 Cefotaxime ร้อยละ 36.30 Nalidixic acid ร้อยละ 25 Chloramphenicol ร้อยละ 21.78 Ampicillin และ Penicillin G เท่ากัน ร้อยละ 20.97 Streptomycin ร้อยละ 12.90 Kanamycin ร้อยละ 8.07 Ciprofloxacin ร้อยละ 8.06 Gentamycin ร้อยละ 7.26 และ Sulfamethoxazole/Trimethoprim ร้อยละ 4.84 และพบรูปแบบของการดื้อยาหลายชนิด 42 รูปแบบ อย่างไรก็ตามพบความถี่ในการดื้อต่อยา Tetracycline ร่วมกับยา Cefotaxime มากกว่ารูปแบบอื่น การศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันความชุกการพบเชื้อดื้อต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อ E. coli และแลคติกแอสิดแบคทีเรียที่แยกได้จากโคขุนที่ส่งเข้าโรงฆ่า และสามารถใช้ข้อมูลการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป คำสำคัญ: ความชุก การดื้อต่อยาต้านจุลชีพ เอสเชอริเชีย โคไล แลคติกแอสิดแบคทีเรีย โคขุน

Abstract

This cross-sectional observation study was conducted to determine the prevalence and antimicrobial resistance patterns of Escherichia coli and Lactic Acid Bacteria (LAB) isolated from slaughtered fattening beef cattle in Sakon Nakhon province. A total of 140 caecal content samples were collected. It revealed a prevalence of 93.57% (132/140) of E. coli and 90.00% (126/140) of LAB. A total of E. coli isolates and LAB isolates were tested for resistance to 11 antimicrobial agents using the disc diffusion method. The results showed that E. coli isolates were resistant to Penicillin G (99.24%), Tetracycline (56.06%), Nalidixic acid (18.18%), Streptomycin (15.91%), Ciprofloxacin (12.88%), Cefotaxime (12.88%), Ampicillin (10.60%), Sulfamethoxazole/Trimethoprim (9.85%), Gentamycin (9.10%), Chloramphenicol (6.82%) and Kanamycin (3.37%). All E. coli isolates showed 43 different multidrug-resistance patterns. However, the combination of Tetracycline and Penicillin G was the most frequently observed resistance pattern from E. coli. The LAB isolates were resistant to Tetracycline (41.13%), Cefotaxime (36.30%), Nalidixic acid (25%), Chloramphenicol (21.78%), Ampicillin and Penicillin G at 20.97%, Streptomycin (12.90%), Kanamycin (8.07%), Ciprofloxacin (8.06%), Gentamycin (7.26%) and Sulfamethoxazole /Trimethoprim (4.84%). All LAB isolates showed 42 different multidrug-resistance patterns. However, the combination of Tetracycline and Cefotaxime resistant LAB isolates was the most frequently observed. This result may be due to a long-time use of these antibiotics by the farmers in this area.

วารสารปีที่ 16 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152