การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก 2 พันธุ์

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก 2 พันธุ์

Comparison of Organic and Chemical Fertilizer Efficiency on Growth and Yield of Two Pepper Varieties

--------------------------------------------

โดย นาง นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน1 Nongluck Payakkasirinawin1

ผู้แต่งร่วม นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน1 Nongluck Payakkasirinawin1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 16 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-05-25 21:28:55

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

จุดประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อต้องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก 2 พันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x5 Factorial in RCBD แบ่งเป็น 10 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ แบ่งออกเป็นปัจจัย A คือ พันธุ์พริก และปัจจัย B คือ ชนิดของปุ๋ย ใช้ระยะเวลาการทดลอง 80 วัน ผลการทดลอง พบว่า สำหรับการผลิตพริกหนุ่มและพริกหยวก แนะนำให้ใช้กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีที่สุด เพราะให้ความสูงเฉลี่ย (47.23 และ 55.59 เซนติเมตร) ความกว้างเฉลี่ย (37.06 และ 53.53 เซนติเมตร) จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น (43.33 และ 55.25 ผลต่อต้น) น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยรวมต่อต้น (1.30 และ 2.17 กิโลกรัมต่อต้น) ผลผลิตเกรด A เฉลี่ย (54.99 และ 71.96 เปอร์เซ็นต์) และมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ย (79.83 และ 99.81 เปอร์เซ็นต์) สูงที่สุด และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p=0.01) รองลงมา คือ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนที่ไม่แนะนำให้ใช้ในการปลูกพริกหนุ่มและพริกหยวก คือ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยมูลค้างคาว อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากพริกหนุ่มและพริกหยวกมีการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตน้อยที่สุด

Abstract

The aims of this research was to determine the comparison of organic and chemical fertilizer efficiency on growth and yield of two pepper varieties. The experimental design was 2x5 Factorial in RCBD with 10 treatments and 3 replications. Factor A was the pepper varieties and factor B was fertilizer types. The experiment duration was 80 days. The results were found that for young chili and paprika production the use of 15-15-15 fertilizer with chicken manure was most suitable. The best average heights (47.23, and 55.59 cm.), average width (37.06, and 53.53 cm.) average fruit number per plant (43.33, and 55.25), average yield per plant (1.30, and 2.17 kg.), average A grade (54.99%, and 71.96%), and highest moisture contents (79.83%, and 99.81%) of two pepper varieties with 15-15-15 fertilizer and chicken manure were recorded. The results were significantly different. This was followed by treatment 3 (15-15-15 + pig manure). Treatment 5 (15-15-15 + guano) was not recommended due to the least growth and yield shown in the experiment. Keywords: Capsicum annuum Linn. Chemical Fertilizer Organic Fertilizer

วารสารปีที่ 16 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152