การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมนิล ในนาแบบเปียกสลับแห้งและนาชลประทาน

การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมนิล ในนาแบบเปียกสลับแห้งและนาชลประทาน

Study of Chemical Fertilizer Rate on Growth and Yield of Hom Nin Rice Variety Under Alternate Wetting and Drying Condition and Irrigated Condition

--------------------------------------------

โดย นาง โดม หาญพิชิตวิทยา1 Dome Harnpichitvitaya1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 16 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-05-25 21:30:52

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมนิลในสภาพนาเปียกสลับแห้งและในสภาพนาชลประทาน พบว่า ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 45 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลทำให้ต้นข้วมีความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนรวงต่อกอ ผลผลิตเมล็ดข้าวเฉลี่ย และน้ำหนักเฉลี่ย 100 เมล็ด มีค่าสูงที่สุดเป็น 91 เซนติเมตร 16 รวงต่อกอ 580 กิโลกรัมต่อไร่ และ 2.74 กรัมตามลำดับ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 3.95 เปอร์เซ็นต์ และพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p≤0.01) รองลงมา ได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ถือเป็นการใส่อัตราที่น้อยเกินไป เนื่องจากการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวมีค่าน้อยที่สุด และไม่แตกต่างทางกันในสถิติกับการไม่ใส่ปุ๋ย นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งยังสามารถลดปริมาณการใช้น้ำในการเพาะปลูกข้าว เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำแบบท่วมขังหรือแบบดั้งเดิม และให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยเป็น 471 กิโลกรัมต่อไร่ และ 410 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง คำสำคัญ: ข้าวหอมนิล นาเปียกสลับแห้ง นาชลประทาน

Abstract

The study of chemical fertilizer rates (16-16-8) on growth and yield of of Hom Nin rice variety under alternating wetting and drying conditions and irrigated conditions found that the fertilizer at 45 kg/rai gave highest average height, number of panicles per hill, average rice kernels and average 100 grain weight at 91 cm, 16 panicles, 580 kg/rai and 2.74 grams, respectively. The lowest unfilled grain percentage were found at 3.95%. These differences were significant in term of statistical analysis (p≤0.01). This was followed by the fertilizer rate at 30 kg/rai. The use of chemical fertilizer rate at 15 kg/rai was to low. The growth and yield of the rice in this treatment show similar result to that without fertilizer. It was also found that water management by alternating wetting and drying also reduced the amount of water usage for rice growing when compared to traditional growing method by flooding and the yields were 471 and 410 kg/rai, respectively and the differences were statistically significant. Keywords: Hom Nin Rice Wetting Drying Condition Irrigated Condition

วารสารปีที่ 16 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152