กลยุทธ์การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของเศษเหลือทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยจุลินทรีย์โปรไบโอติก เพื่อเป็นอาหารสัตว์

กลยุทธ์การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของเศษเหลือทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยจุลินทรีย์โปรไบโอติก เพื่อเป็นอาหารสัตว์

Strategies to Improve Nutritive Value of Agro-industrial by Product by Using Microbial Probiotics for Animal Feeding

--------------------------------------------

โดย วาสนา ศิริแสน1 และกิตติ วิรุณพันธุ์2 Vatsana Sirisan1 and Kitti Wirunpan2

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-07 14:50:51

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพถือว่าเป็นปัญหาสำหรับการผลิตปศุสัตว์ การนำใช้เศษเหลือทางการเกษตรและทางโรงงานอุตสาหกรรมมาเป็นอาหารสัตว์ จึงเป็นแนวทางในการลดปัญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์ลงได้ แต่เศษเหลือส่วนใหญ่มีคุณค่าทางโภชนะที่ต่ำ ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ได้โดยตัวสัตว์ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทบทวนเอกสารเพื่อหาแนวทางในการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพเศษเหลือเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยจุลินทรีย์ที่นิยมใช้เพื่อช่วยเพิ่มโปรตีนของเศษเหลือ ประกอบด้วยกลุ่มเชื้อยีสต์ Saccharomyces cerevisiae เชื้อรา Rhizopus oryzae, Aspergillus niger และแบคทีเรีย Lactobacillus delbruckii, L. coryneformis โดยพบว่าเมื่อหมักร่วมกับกากมันสำปะหลังและเปลือกมันสำปะหลัง สามารถเพิ่มโปรตีนได้กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และจุลินทรีย์ที่ช่วยลดองค์ประกอบของเยื่อใยประกอบด้วยกลุ่มเชื้อรา Trichoderma harzianum, T. reesei, A. niger, A. terrens, A. oryzae, A. phoenicis และกลุ่มแบคทีเรีย Penicilium sp. ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถผลิตเอนไซม์ที่ย่อยเยื่อใย เพื่อเปลี่ยนเป็นสารประกอบอินทรีย์ และทำให้องค์ประกอบเยื่อใยลดลง แต่การพิจารณาเลือกใช้ชนิดของจุลินทรีย์ให้เหมาะสมกับเศษเหลือชนิดนั้น ๆ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยปรับปรุงคุณภาพของเศษเหลือให้เหมาะสมกับการนำใช้ประโยชน์ได้โดยตัวสัตว์ จึงเป็นแนวทางลดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลงได้ คำสำคัญ : จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เศษเหลือทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรม องค์ประกอบโปรตีน องค์ประกอบเยื่อใย

Abstract

Rack of animal feedstuffs in term of qualities and quantities are most of the problem for livestock production. Using agro industrial by- product as animal feedstuffs is one of the way to solve these problem. However, most of them usually have a composition rich in fiber content and low of crude protein content. Therefore, the objective of this study was to review the role of microbial probiotics to improving the nutritive value of agro-industrial waste for use as animal feed. The microbial probiotics could improve crude protein content which consisted of Saccharomyces cerevisiae, Rhizopus oryzae, Aspergillus niger and Lactobacillus delbruckii, L. coryneformis. Most of them which fermented with cassava pulp and cassava peel could improve crude protein content more than 40 percentages. The microbial probiotics can be reduced fiber content which consisted of Trichoderma harzianum, T. reesei, A. niger, A. terrens, A. oryzae, A. phoenicis and Penicilium sp. Most of these can be released fibrolytic enzyme; especially lignocellulases exploited the available of organic compound and reducing fiber content. Optimizing of microbial probiotics and agro industrial by product is appropriate methods to improving the nutritive value for use as animal diets. As consequently; the lack of animal feedstuff was solved. Keywords : Microbial probiotics, agro industrial by- product, protein content, crude fiber content

วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152