ผลของเกลือต่อการลดความเป็นพิษในกลอย

ผลของเกลือต่อการลดความเป็นพิษในกลอย

Effect of Salt on Poisoning Removal of Asiatic Bitter Yam (Dioscorea hispida Dennst.)

--------------------------------------------

โดย ประสงค์ ปามุทา1 และสุพรรนี แก่นสาร อะโอกิ1 Prasong Pamutha1 andSupannee Kansarn Aoki1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-07 15:18:55

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

กลอยเป็นพืชอาหาร ในหัวกลอยมีสารพิษไดออสคอรีนและไดออสจีนิน อยู่ในกลุ่มแอลคาลอยด์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ก่อนนำมารับประทานจึงต้องล้างสารพิษออกให้หมด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของเกลือที่ใช้หมักต่อการลดความเป็นพิษในกลอยข้าวเจ้าและกลอยข้าวเหนียวและ 2) ศึกษาผลของกลอยที่ผ่านกระบวนการลดความเป็นพิษด้วยเกลือต่ออัตราการตายของปลานิลหมักกลอยด้วยเกลืออัตราส่วนเกลือต่อกลอย เท่ากับ 1:10 2:10 3:10 4:10 และ 5:10 ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน เปรียบเทียบกับชุดควบคุม คือไม่ใช้เกลือ ล้างด้วยน้ำสะอาด 6 ครั้งต่อวัน แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกัน 4 ชั่วโมง อบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง นำกลอยที่ได้ไปทดสอบกับปลานิล เจือจางกลอยด้วยน้ำกลั่น ที่ระดับความเข้มข้น 10 100 200 300 และ 400 กรัมต่อลิตร ผสมในน้ำเลี้ยงปลานิล ปริมาตร 1 ลิตร ใช้ปลานิล 10 ตัวต่อชุดการทดลอง ทดสอบเป็นเวลา 96 ชั่วโมง ทำการทดลอง 3 ซ้ำ พบว่า ค่าความเข้มข้นที่ทำให้ปลานิลที่เลี้ยงตายครึ่งหนึ่งในเวลา 96 ชั่วโมง (96 ชั่วโมง-LD50) ของกลอยข้าวเจ้าและกลอยข้าวเหนียว เท่ากับ 204.54 และ 214.29 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ กลอยที่กำจัดสารพิษด้วยเกลือในอัตราส่วน 4:10 และ 5:10 ที่ระดับความเข้มข้น 400 กรัมต่อลิตร มีอัตราการตายสะสมของปลานิล เท่ากับ 6.66±3.33 และ 3.33±3.33% ตามลำดับ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ : กลอย เกลือ ไดออสคอรีน

Abstract

Asiatic bitter yam or Kloy (Dioscorea hispida Dennst.) is a food plant. The toxic alkaloid, dioscorine and diosgenin are poisonous to the central nervous system hence the danger to consumer. Therefore, tuber must be detoxified before consumption. The objectives of the research were; 1) to study the effect of salt on Kloy khoa choa and Kloy khoa neaw, 2) to study the effect of poisonous deduction with salt on mortality of tilapia(Oreochromis niloticus). Ratios of Kloy to salt were 1:10 2:10 3:10 4:10 and 5:10 at room temperature for 3 days. The control was unsalted Kloy. Each treatment was rinsed 6 times per day at 4 hours interval and dried in oven at 60C for 24 hrs. The dried Kloys were diluted with distil water to 10 100 200 300 and 400 g/L and mixed in water the keep 10 tilapia at room temperature for 96 hours. The experiment was repeated 3 times. Static technique of bioassay was assigned to determine their median lethal concentration within 96 hours (96h-LD50). The results revealed that Kloy khoa choa and Kloy khoa neaw provided the lowest toxicity to tilapia with 96h-LD50 =204.54 and 214.29 g/L, respectively. For 400 g/L concentration, detoxified kloys with 4:10 and 5:10 ratios showed accumulated mortality rate of 6.66 ± 3.33 and 3.33 ± 3.33%, respectively. This showed no statistic difference at P ≤ 0.05. Keyword : Kloy(Dioscorea hispida Dennst), Salt, Dioscorine

วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152