ผลของตาข่ายพรางแสงสีดำต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของกระเจียว Curcuma singularis Gagnep.

ผลของตาข่ายพรางแสงสีดำต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของกระเจียว Curcuma singularis Gagnep.

Effects of Black Shading Net on Growth and Flowering of Kra-Jeeuw Curcuma singularis Gagnep.

--------------------------------------------

โดย วรรณนิภา สุภโกศล1 และ สุพรรนีอะโอกิ1 Wunnipa Supagosol1and Supannee Aoki1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-07 15:30:29

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

กระเจียวเป็นพืชป่าที่ชาวชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนำดอกอ่อนมารับประทาน มีช่อดอกสวยงาม ส่วนเหง้าใช้เป็นสมุนไพร กระเจียวจึงนับเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตเป็นพืชอาหารและพัฒนาเป็นไม้ตัดดอกได้ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตาข่ายพรางแสงสีดำต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของกระเจียว (Curcuma singularis Gagnep.) ทำการทดลองปลูกในแปลงธรรมชาติ ศูนย์การเรียนรู้บ้านยางน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างเดือนเมษายน 2555 ถึงพฤศจิกายน 2556 วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) ศึกษาการพรางแสง 4 ระดับคือ 0 50 60 และ 70 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลองพบว่า การพรางแสง 50 60 และ70 เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์การงอกไม่ความแตกต่างกันทางสถิติการพรางแสง 70 เปอร์เซ็นต์ ให้ความสูงของลำต้นสูงสุด (66.2 เซนติเมตร)เปอร์เซ็นต์การออกดอกสูงสุด (27.1 เปอร์เซ็นต์) และให้ความกว้างยาวของช่อดอกสูงที่สุด (กว้าง 6.3 เซนติเมตร ยาว 9.8 เซนติเมตร) การพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ ให้จำนวนใบต่อกอสูงที่สุด (6.1 ใบต่อกอ)ส่วนการไม่พรางแสงให้ความสูงของต้น (37.8 เซนติเมตร) จำนวนใบต่อกอ (3.0 ใบต่อกอ) การออกดอกมีค่าต่ำสุด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) แสดงว่า การพรางแสง 70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้กระเจียวเจริญเติบโตสูงสุดตามสภาพธรรมชาติ คำสำคัญ : พืชสกุลกระเจียว การเจริญเติบโต การพรางแสง

Abstract

Kra-jeeuw is a tuberous rhizome plant that has a long tradition use as a wild food plant in Northeast Thailand. The rhizome is the portion of the plant that is used medicinally. Kra-jeeuw is considered as a great potential for domestic utilization and the development of production. Therefore, the objectives of this research were to study the effects of black shading net on growth and flowering of Kra-jeeuw (Curcuma singularis) under black shade net. The experiments were conducted at Ban Yang Noi Learning Center, Ubon Ratchathani Rajabhat University, during April 2012 to November 2013. The experiment was set up using Randomized Complete Block Design (RCBD) method, involving four levels. The levels were consisted of control (no shading), shading with 50% 60% and 70% of the black shade net. The results showed no significant on emergence percentage. The 70% shading had the highest pseudostem height (66.2 centimeter), flowering percentage (27.1%) and the largest flower (6.3 x 9.8 centimeter). The 50% shading resulted in highest leaf number per plant (6.1 leaves per plant). Control experiment resulted in 37.8 centimeter plant with 3.0 leaves per plant and lowest flowering percentage. The result was difference and statistically significant at P ≤ 0.05. Therefore, 70% shading enhance best growth in Kra-jeeuw. Key words : Curcuma spp., growth, shading

วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152