ผลของขนาดหัวพันธุ์ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของกระเจียว (Curcuma singularis Gagnep.) ในแปลงปลูกตามสภาพธรรมชาติ

ผลของขนาดหัวพันธุ์ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของกระเจียว (Curcuma singularis Gagnep.) ในแปลงปลูกตามสภาพธรรมชาติ

Effects of Rhizome Sizes on Sprouting and Growth of Kra-jeeuw (Curcuma singularis Gagnep.) in Natural Land Plot

--------------------------------------------

โดย สายใจ สายใหม1 และ สุพรรนีอะโอกิ1 Saijai Saimai1 and Supannee Aoki1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-07 15:31:56

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

กระเจียว Curcuma singularis Gagnep. (รหัสTL-1) เป็นพืชอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาล พบทั่วไปในป่าเต็งรังในพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปีดอกอ่อนรับประทานเป็นผัก ชาวบ้านเก็บมาขายเป็นรายได้เสริมของครอบครัว การปลูกขยายพันธุ์ทำได้โดยใช้เหง้า การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของขนาดหัวพันธุ์กระเจียวที่มีจำนวนตา 1 3 5 และ 7 ตา ต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวทำการทดลองในแปลงปลูกธรรมชาติที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านยางน้อย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีระหว่างเดือนเมษายน2555 ถึงพฤศจิกายน 2556 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design(RCBD) มี 4กรรมวิธีคือ หัวพันธุ์ที่มีตาเท่ากับ 1 3 5และ 7 ตา จำนวน 5 ซ้ำ ซ้ำละ 100 หัวพันธุ์ จากการทดลองพบว่าพันธุ์ที่มีจำนวนตา 7 ตามีเปอร์เซ็นต์การงอก ความสูงของลำต้นกระจียว จำนวนใบต่อต้น และน้ำหนักหัวพันธุ์มีค่าสูงที่สุดคือ 67 เปอร์เซ็นต์ 27.84 เซนติเมตรที่อายุ 63 วันหลังงอก 6 ใบต่อต้น และ17.0 กรัม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) คำสำคัญ : กระเจียว จำนวนตา การเจริญเติบโต

Abstract

Kra-jeeuw (Curcuma singularis Gagnep.code TL-1) is a native plant found in dry dipterocarp forest around PhaTaem National Park, KhongChiam District, Ubon Ratchathani province. The flowering season is during April to June. The flower is collected and sold as a substitute income by locals. The rhizome is commonly used for propagation. The objective of this research was to study the effects of rhizome with 1, 3, 5, and 7 buds on emergence and growth of Kra-Jeeuw. The experiment was conducted in Ban Yang Noi learning center, Ubon Ratchathani Rajabhat University, Keong Nai District, Ubon Ratchathani during March 2012 to November 2013. The experimental was based on Randomized Complete Block Design with 4 treatment and each treatments contained 5 replications. There were 100 rhizomes in each replication. The results found that the 7 bud rhizome showed highest percentage on emergence, plant height, leaf per plant and rhizome (67%, 27.84 centimeter, 6 leaves, and 17.0 grams respectively). The results were significantly different (p≤0.05) Keyword : Curcumarhizome, bud number, and growth

วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152