การประยุกต์ใช้เทคนิคคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นท์กับพืชสวน

การประยุกต์ใช้เทคนิคคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นท์กับพืชสวน

Applications of Chlorophyll Fluorescence Technique in Horticultural Crops

--------------------------------------------

โดย นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน1 อุบล ชินวัง1* และสุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร1 Nonglak Phayakkasirinawin1 Ubol Chi

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-07 15:33:16

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

เทคนิคคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นท์เป็นวิธีการที่ทำได้อย่างรวดเร็วในการวัดปฏิกิริยาแสงของพืช (light reaction) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการสังเคราะห์แสงของพืช วิธีการนี้นิยมใช้เป็นตัวชี้วัดชนิดหนึ่งเพื่อช่วยตรวจสอบความเครียดของพืชในระหว่างการเจริญเติบโต และนำมาใช้ศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลิตผลพืชสวนบางชนิดในระยะหลังการเก็บเกี่ยว ในด้านพืชสวนมีการประยุกต์ใช้ในระยะก่อนการเก็บเกี่ยว เช่น การศึกษาสภาวะการเกิดความเครียดของพืชที่ปลูกจากการขาดธาตุอาหารและขาดน้ำ โดยการวัดค่าคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นท์ (Fv/Fm) ที่ลดลง สามารถใช้ค่านี้เป็นดัชนีบ่งบอกอาการขาดธาตุเหล็กของต้นสตรอเบอรี่ และบอกสภาวะเครียดจากการขาดน้ำของมะเขือเทศได้ ส่วนการประยุกต์ใช้ในระยะหลังการเก็บเกี่ยวนั้น ค่า Fv/Fm สามารถใช้เป็นดัชนีหนึ่งร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ในการประเมินคุณภาพผลผลิต เช่น ความบริบูรณ์ของผลิตผลก่อนการเก็บเกี่ยว และการสุกของผลไม้บางชนิด (มะละกอ และกล้วยหอม) ค่า Fv/Fm สามารถใช้เป็นดัชนีแบบไม่ทำลายตัวอย่างที่บ่งบอกอาการผิดปกติทางสรีรวิทยาของผลิตผลและไม้ตัดดอกระหว่างการเก็บรักษาได้ คำสำคัญ : คลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นท์ การประเมินคุณภาพ พืชสวน

Abstract

Chlorophyll fluorescence is a technique providing a rapid measurement of light reaction to evaluate the efficiency of photosynthesis. This non-destructive technique was popularly used as one of the indicators for determining environmental stresses of various crop plant during preharvest period. This method was also utilized to assist quality evaluation of some fruit at harvest or postharvest period. In horticultural plants, it is applied in the pre-harvest period to study on the stress of plant due to the lack of minerals and water, by determining a decreasing chlorophyll fluorescence parameter (Fv/Fm). This parameter indicated iron deficiency in strawberry and water stress in tomato plants. Post-harvest application of the Fv/Fm can be used as one of the parameters evaluating the produce quality, for example, maturity for harvesting and fruit ripening (papaya and banana). The Fv/Fm parameter can be used as a non-destructive indicator of physiological disorders in some fruit and cut flowers during cold storage. Keywords : Chlorophyll Fluorescence, Quality Evaluation, Horticultural Crops

วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152