การจัดการการตลาดเห็ดขอนขาวของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดอุบลราชธานี

การจัดการการตลาดเห็ดขอนขาวของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดอุบลราชธานี

Marketing Management of Khonkhao Mushroom of the Farmer in UbonRatchathani Province

--------------------------------------------

โดย สุพัฒน์ เงาะปก สัจจา บรรจงศิริ และ อุทัย อันพิมพ์ Supat Ngopok1 Sujja Banchongsiri2 and Uthai Un

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-07 15:41:43

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้พบว่า (1) กระบวนการผลิตขอนขาวของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดอุบลราชธานีมี 2 รูปแบบ คือ กลุ่มที่ผลิตก้อนเชื้อและเปิดดอกและกลุ่มที่ซื้อก้อนเชื้อมาเปิดดอก แต่ละกลุ่มมีขั้นตอนและต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกัน (2) การจัดการส่วนประสมการตลาดเห็ดขอนขาวของเกษตรกรรายย่อย พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นดอกเห็ดสดมีความต้องการของตลาดมาก ผลผลิตเห็ดดี มีคุณภาพ ส่วนใหญ่ขายในตลาดท้องถิ่นเป็นหลักและเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาเอง ไม่มีการส่งเสริมการตลาดเนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ และ(3) ต้นทุนผลตอบแทน พบว่ากลุ่มที่ผลิตก้อนเชื้อและเปิดดอกมีต้นทุนการผลิต 4.79 บาท/ถุง ส่วนกลุ่มที่ซื้อก้อนมาเปิดดอกมีต้นทุนการผลิต 5.98 บาท/ก้อน ซึ่งสูงกว่ากลุ่มแรกเท่ากับ 1.19 บาท/ถุง ส่วนด้านผลกำไร พบว่ากลุ่มที่ผลิตก้อนเชื้อและเปิดดอกมีกำไร 15.35 บาท/ถุง ในขณะที่กลุ่มที่ซื้อก้อนมาเปิดดอกมีกำไรเท่ากับ 10.99 บาท/ก้อน และจากการวิเคราะห์รายได้จากการผลิต พบว่า กลุ่มผู้ผลิตก้อนและเปิดดอกมีกำไร 202,217.36 บาท/รอบการผลิต ส่วนกลุ่มที่ซื้อก้อนมาเปิดดอกมีกำไร 131,565.27 บาท/รอบการผลิต ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มแรก นอกจากนั้นยังพบว่าเกษตรกรมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการผลิต 4 ประการ คือ1) ความรู้ในการจัดการผลิต 2) วัตถุดิบในการผลิต 3) สายพันธุ์และหัวเชื้อเห็ดขอนขาว และ 4) โรคและแมลง ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาโดยจัดให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและจัดหาวัตถุดิบทดแทน จัดหาสายพันธุ์หัวเชื้อที่มีคุณภาพ และวิธีการกำจัดโรคและแมลงอันจะส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ดให้เกิดความยั่งยืนต่อไป คำสำคัญ : การจัดการการผลิต เห็ดขอนขาว ส่วนประสมการตลาด ต้นทุน ผลตอบแทน

Abstract

This research found (1) Two different groups of farmers ie. own-produced substrate bags and ready- made substrate bags. Each has different processes and cost of production, (2) high quality and quantity of fresh mushroom products were in high demand in local market. Moreover, farmers could set their own price without promotion because fresh mushroom was less available., 3) The own-produced substrate bag group showed production cost of 4.75 baht and return on investment of 15.35 baht per bag whereas the group that used ready- made substrate bag showed production cost of 5.98 baht and return on investment of 10.99 baht per bag. This resulted in the different income of 202,217.36 baht for the first group and 131,565.27 baht in the second group. The research also found 4 barriers in the production ie. 1) knowledge for production management, 2) raw material, 3) genotypes and the mushroom spawn, 4) ) diseases and insect pests. of Khonkhao mushroom. These were countered by providing of knowledge, seeking of alternative raw material, provision of the right cultivar and high quality spawn, and finally finding effective techniques for pathogen and insect control. These, finally lead to sustainable mushroom industry. Keywords : Production management, Khonkhao mushroom, Marketing mix, Cost, Return on investment

วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152