การลดต้นทุนการผลิตเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus) โดยการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืชเป็นวัสดุเพาะ

การลดต้นทุนการผลิตเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus) โดยการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืชเป็นวัสดุเพาะ

Lower production cost of oyster mushroom (Pleurotus ostreatus) by using agricultural wastes and weed plants as culturing substrates

--------------------------------------------

โดย เสกสรร ชินวัง1 โดม หาญพิชิตวิทยา1 กิตติ วิรุณพันธุ์ สุกัลยา นันตา1 และอนัญญา วรรณา1 Sakesan Chinwan

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-14 08:43:15

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้วัสดุเพาะที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืชเป็นวัสดุเพาะเห็ดนางรม การทดลองแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามชนิดของวัสดุเพาะเห็ดคือ ฟางข้าว ต้นกล้วยสับ ผักตบชวา ไมยราพยักษ์ และหญ้าคา ผลการทดลองพบว่าไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติของจำนวนวันที่ใช้ในการบ่มก้อนเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกโดยใช้ระยะเวลา 21 – 25 วัน ส่วนจำนวนดอกเฉลี่ยต่อถุงนั้นมีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยกลุ่มทดลองที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุด คือกลุ่มที่ใช้ฟางข้าว รองลงมาคือ ตบชวา ต้นกล้วยสับ หญ้าคา และไมยราพยักษ์ โดยปริมาณดอกเฉลี่ยคือ 97.53 85.48 80.70 57.98 และ 34.85 ดอกตามลำดับ การให้ผลผลิตเห็ดสดนั้นมีความแตกต่างกันทางสถิติโดยกลุ่มทดลองที่ให้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด คือกลุ่มที่ใช้ฟางข้าว รองลงมาคือตบชวา ต้นกล้วยสับ หญ้าคาและไมยราพยักษ์ โดยมีผลผลิตเห็ดสดอยู่ที่ 365.10 304.43 284.15 131.40 และ 74.22 กรัมตามลำดับ คำสำคัญ : เห็ดนางรม วัสดุเพาะ ผลผลิต

Abstract

This research aimed to study the results agricultural wastes and weed plants as substrates for oyster mushroom cultivation. The experiment divided into 5 groups according to types of substrates. These were rice straw, chopped banana tree, water hyacinth, giant mimosa and cogon grass. Results found no significant differences in incubation times prior to mushroom initiation. The incubation times were 21 – 25 days. Average numbers of mushroom per bag were significantly different. The highest number was found in rice straw followed by water hyacinth, chopped banana tree, cogon grass and giant mimosa which are 97.53, 85.48, 80.70, 57.98, and 34.85 mushrooms per bag, respectively. Fresh yields were also significantly different. The highest yield was obtained from rice straw followed by water hyacinth, chopped banana tree, cogon grass and giant mimosa which were 365.10, 304.43, 284.15, 131.40, and 74.22 gram per bag, respectively. Key words : oyster mushroom, substrate, yield

วารสารปีที่ 12 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152