การผลิตและต้นทุนการผลิตหอมแดง ในเขตพื้นที่ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ

การผลิตและต้นทุนการผลิตหอมแดง ในเขตพื้นที่ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ

Production and Production Cost of Shallot in Yangchumnoi District, Sisaket Province

--------------------------------------------

โดย จีระนันท์ วงศ์วทัญญู1* กนกกาจน์ จิรศิริเลิศ1 และณัฏฐ์พัชร์ วณิชย์กุล1 Jeeranan Wongwatanyoo1* Gano

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2019-05-21 10:56:15

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและการตลาดของหอมแดง ในเขตพื้นที่ตำบลคอนกาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง จำนวน 20 ราย และผู้รวบรวมท้องที่จำนวน 20 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การปลูกหอมแดงส่วนใหญ่ ลักษณะดินที่ปลูกหอมแดงเป็นดินร่วนและเป็นดินร่วนปนทราย พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นหอมแดงพันธุ์บางช้าง (หอมแดงศรีสะเกษ) เป็นพันธุ์เดิมที่มีการเก็บเกี่ยวไว้จากฤดูกาลเดิม โดยเกษตรกรจะเริ่มปลูกหอมแดงในเดือนพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนมีนาคม สำหรับผลผลิตเฉลี่ย 1,000-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการเพาะปลูกเฉลี่ยต่อไร่ในการผลิตหอมแดง เท่ากับ 8,151.5 บาท โดยค่าสายพันธุ์มีสัดส่วนมากที่สุด เท่ากับ 2,908.6 บาทต่อไร่ การจำหน่ายมีทั้งพ่อค้ามารับซื้อหอมแดงถึงแหล่งผลิต และเกษตรกรนำไปขายให้กับผู้รวบรวมในท้องที่ ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 30 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับรายได้เฉลี่ยที่เกษตรกรได้รับรายได้เฉลี่ย 22,300 บาทต่อไร่ เกษตรกรไม่มีอำนาจในการกำหนดราคา ราคารับซื้อถูกกำหนดโดยผู้ซื้อ ศักยภาพด้านการตลาดของหอมแดง พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพราะผลิตภัณฑ์ไม่มีความหลากหลาย ไม่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่ผ่านผู้รวบรวมท้องที่เพียงช่องทางเดียว ส่งผลให้ผู้ผลิตไม่สามารถกำหนดกำหนดราคาผลิตผลได้ตามที่ต้องการ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผู้รวบรวมเป็นผู้กำหนด ที่มีลักษณะเป็นการซื้อแบบผูกขาด คำสำคัญ: การผลิต, ต้นทุน, หอมแดง

Abstract

The aim of this research was to study the production and marketing of shallots (Allium cepa var. aggregatum) in the area of Kongam sub-district, Yangchumnoi district, Sisaket province. The sample was divided into 2 groups including shallot producer (20 people) and seller (20 people). The data was collected by using interview technique and analyzed by using statistic factors including frequency, percentage, mean and standard deviation. Most of shallots was usually planted in loam and sand loam. Bang Chang variety (Sisaket shallot) which was used to plant was kept from last harvest season. The shallots were started to plant on November and harvested on March of each year. There were in the range from 1,000 to 1,500 kg/ rai for the harvested products and approximate 8,151.5 baht/ rai for an average cost which was about 2,908.6 baht for the shallot variety cost (the most part from the total cost). For the type of selling, there were two selling types such as from merchant and from the representative farmer. The average price of the shallots was 30 baht/ kg. For the income, each farmer family earned approximately 22,300 bath/month/rai. However, the farmers were not able to set up the product price because the price was set by the merchant and the representative farmer. Moreover, it was found that shallot marketing potential was in a low level because of less diversity, on value added, less selling channel of the shallot products. Because the farmers were not able to set up, they had to accept the price for the merchant and the representative farmer. It was monopoly system from them. Keywords: Production, Cost, Shallot.

วารสารปีที่ 17 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152