ผลของสารสกัดจากกระเทียมและหอมแดงต่อการยับยั้งเชื้อ Salmonella sp. ที่ปนเปื้อนในไข่ไก่

ผลของสารสกัดจากกระเทียมและหอมแดงต่อการยับยั้งเชื้อ Salmonella sp. ที่ปนเปื้อนในไข่ไก่

Influence of garlic and shallot extracts on inhibition of Salmonella sp. as contaminated in egg

--------------------------------------------

โดย ศศิมล มุ่งหมา และ สุนิดา เมืองโคตร

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2021-06-28 10:32:27

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella sp. บนเปลือกไข่ไก่ และเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากกระเทียมและหอมแดงต่อการยับยั้งเชื้อ Salmonella sp. โดยนำไข่ไก่ที่สุ่มซื้อในท้องตลาดมานับจำนวนเชื้อ Salmonella sp. ที่ปนเปื้อน จากนั้นแยกเชื้อ Salmonella sp. เพื่อใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของ สารสกัดจากกระเทียมและหอมแดง ด้วยวิธี agar disc diffusion method minimum inhibitory concentration (MIC) และ minimum bactericidal concentration (MBC) รวมถึงการตรวจสอบลักษณะของเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (scanning electron microscope; SEM) พบว่า สารสกัดจากกระเทียมและหอมแดง ที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 10 และ 15 (w/v) มีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อ Salmonella sp. สารสกัดกระเทียมและหอมแดง ที่ความเข้มข้นร้อยละ 15 (w/v) สามารถยับยั้งเชื้อ Salmonella sp. ได้สูงที่สุด รองลงมา คือ ความเข้มข้นร้อยละ 10 และ 5 (w/v) ตามลำดับ ค่า MIC และ MBC ของสารสกัดจากกระเทียมและหอมแดงมีค่าเท่ากัน (ร้อยละ 7.5 และ > 15 (w/v)) นอกจากนี้ สารสกัดจากกระเทียมและหอมแดง มีผลทำให้ลักษณะของเซลล์มีรูปร่างที่ผิดปกติเท่านั้น เมื่อสังเกตจากลักษณะของเซลล์ภายใต้กล้อง SEM คำสำคัญ: การยับยั้ง กระเทียม ไข่ไก่ หอมแดง Salmonella sp.

Abstract

This research aimed to investigate the basic data of Salmonella sp. as contaminated in egg. The garlic and shallot extracts were tested for their activity against Salmonella sp. The egg from a local market were randomized for total viable count and isolated the Salmonella sp. single cell colony. Afterwards, the extracts were tested for their inhibitory effects against Salmonella sp. by agar disc diffusion method, minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) including electron scanning microscopy (SEM) observation. The results revealed that the garlic and shallot extracts concentrations at 5, 10 and 15% (w/v) were efficacy against the growth of Salmonella sp. The garlic and shallot extracts at 15% (w/v) of the concentration showed the highest activities against Salmonella sp. followed by 10 and 5% (w/v) of concentrations. In addition, SEM showed that the Salmonella sp. cells treated with garlic and shallot extracts showed an irregular shape but had rupture-free cell wall structure. Keywords: Egg, Garlic, Inhibition, Salmonella sp., Shallot

วารสารปีที่ 20 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152