ผลของช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่มีต่อสารสำคัญและผลผลิตบัวบก

ผลของช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่มีต่อสารสำคัญและผลผลิตบัวบก

Effect of Harvesting on Active Ingredient and Yield of Centella asiatica (L.) Urb.

--------------------------------------------

โดย เกษร แช่มชื่น สุรพงษ์ อนุตธโต และ พินิจ เขียวพุ่มพวง

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2022-03-17 08:50:00

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

บัวบกเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพสูงในเชิงพาณิชย์และมีโอกาสทางการตลาดเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก นิยมนำมาบริโภคและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคต่าง ๆ มากมาย แต่ผลผลิตบัวบกที่ได้ให้ปริมาณเอเชียติโคไซค์ ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบผลของช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อ สารสำคัญและผลผลิตของบัวบก งานทดลองนี้ได้ดำเนินการในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน ปี 2563 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ได้แก่ เก็บเกี่ยวที่ระยะดอกบาน 25 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 7 ซ้ำ พบว่า ฤดูแล้งและฤดูฝน เก็บเกี่ยวทั้ง 3 ระยะ บัวบกให้ปริมาณเอเชียติโคไซค์เฉลี่ยตั้งแต่ 0.17 - 0.19 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม และไม่แตกต่างกันทางสถิติ การเก็บเกี่ยวที่ระยะดอกบาน 75 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตน้ำหนักสดสูงสุด 810 และ 1,869 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกฤดูแล้งและฤดูฝน ตามลำดับ และปริมาณเอเชียติโคไซค์พบมาก เมื่อปลูกฤดูฝน คำสำคัญ: บัวบก ระยะการเจริญเติบโต เอเชียติโคไซด์

Abstract

Effect of Harvesting on Active Ingredient and Yield of Centella asiatica (L.) Urb.

วารสารปีที่ 20 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152