การบำบัดเฮกซะวาเลนท์โครเมียมด้วยแหนแดง

การบำบัดเฮกซะวาเลนท์โครเมียมด้วยแหนแดง

Phytoremediation of Hexavalent Chromium by Azolla pinnata

--------------------------------------------

โดย พัชรี สินธุนาวา

ผู้แต่งร่วม จันทร์เพ็ญ มะลิพันธ์

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2022-06-28 15:05:30

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

บทคัดย่อ เฮกซะวาเลนท์โครเมียมเป็นโลหะหนักที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม เมื่อเฮกซะวาเลนท์โครเมียมปนเปื้อนในแหล่งน้ำก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การบำบัดด้วยพืชเป็น เทคโนโลยีที่ใช้พืชมาดูดซับสิ่งปนเปื้อนในดินและน้ำ พืชที่สะสมโลหะหนักในตัวเองได้สูงเรียกว่า พืชสะสมโลหะหนักได้ดี (hyperaccumulator) ซึ่งแหนแดงก็เป็นหนึ่งในนั้น ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการเป็นพืชบำบัดของแหนแดง ในการกำจัดเฮกซะวาเลนท์โครเมียม ในน้ำสังเคราะห์ โดยใช้แหนแดง 50 กรัม ในน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีเฮกซะวาเลนท์โครเมียม ความเข้มข้นต่าง ๆ คือ 0 (ชุดควบคุม), 1.1, 5.9, 12 และ 53 ppm ในน้ำเสียเฮกซะวาเลนท์โครเมียม สังเคราะห์ปริมาตร 5 ลิตร pH ช่วง 6.5-7.5 อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส เก็บตัวอย่างแหนแดงในวันที่ 5, 10 และ15 วัดปริมาณน้ำหนักสด การเจริญเติบโตสัมพัทธ์ และการเจริญเติบโตเป็นสองเท่า ผลการศึกษาในระยะเวลา 15 วันของการวิจัยพบว่า การเจริญเติบโตสัมพัทธ์ในชุดทดลองลดลงร้อยละ 28.39-89.22 เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม การเจริญเติบโตเป็นสองเท่าในชุดทดลอง คือ 6.24 วัน การกำจัดโครเมียมที่ความเข้มข้น 1.1, 5.9, 12 และ 53 ppm คือ 0.33, 1.03, 2.70 และ 4.00 ppm ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงว่าสามารถใช้แหนแดง ในการกำจัดโครเมียมในแหล่งน้ำได้ คำสำคัญ: การบำบัดด้วยพืช แหนแดง เฮกซะวาเลนท์โครเมียม

Abstract

Hexavalent chromium is a compound widely used in industry, contaminated in water, and causing environmental problems. Phytoremediation is a technology that uses various plants to adsorb contaminants from soil and water. Plants that can accumulate high amounts of heavy metals are called hyperaccumulators and one of them is the water fern A. pinnata. This study aimed to investigate the phytoremediation potential of A. pinnata for the removal of hexavalent chromium from synthetic solutions. A. pinnata 50 g was cultured on synthetic solution containing hexavalent chromium ions at concentrations 0 (control), 1.1, 5.9, 12 and 53 ppm in 5l synthetic solution at pH 6.5-7.5 and temperature 28-30°C. A. pinnata was harvested at 5, 10 and 15 days and wet weight was obtained to determine relative growth and doubling time. During the 15 days of the experiment, biomass productivity and relative growth of A. pinnata were decreased by 28.39 - 89.22% in the treatments compared to the controls. The control has a doubling time of 6.24 days. The removal of hexavalent chromium by A. pinnata revealed that at initial hexavalent chromium concentration of 1.1, 5.9, 12 and 53 ppm, were respectively absorbed 0.33, 1.03, 2.70 and 4.00 ppm which was significantly different at 0.05 statistical level. These results suggest that A. pinnata could be considered for the removal of hexavalent chromium from water. Keywords: phytoremediation, Azolla pinnata, hexavalent chromium

วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152