ยุทธศาสตร์การผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี

ยุทธศาสตร์การผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี

Strategy of Organic Rice Production in Ubon Ratchathani Province

--------------------------------------------

โดย นาง วรรษชน สีหบุตร1 สังวาล สมบูรณ์2 และ โชษณ ศรีเกตุ3 Watsachon Sihaboot 1 Sungwarl Somboon2 and Chodsan

ผู้แต่งร่วม วรรษชน สีหบุตร1 สังวาล สมบูรณ์2 และ โชษณ ศรีเกตุ3 Watsachon Sihaboot 1 Sungwarl Somboon2 and Chodsana Sriket3

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2017-10-18 10:22:37

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับการศึกษาสภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานีคือ และ เกษตรกรที่ทำนาข้าวอินทรีย์ ผู้นำชุมชน และกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 288 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวอินทรีย์ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า การพัฒนายุทธศาสตร์การผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี มี 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ โดยส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ จัดทำข้อมูลสารสนเทศทางด้านการผลิต การตลาดและราคา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยจัดหาปัจจัยการผลิตที่เพียงพอทั้งคุณภาพและปริมาณ พัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตข้าวอินทรีย์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ โดยจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์สามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน โดยสร้างปราชญ์ชาวบ้านที่มีสมรรถนะสูง เป็นศูนย์กลางและเครือข่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ และปลูกฝังจิตสำนึกให้เกษตรกรรู้จักพึ่งพาตนเอง ผลจากการประเมินยุทธศาสตร์การผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานีโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ด้านความเหมาะสมของยุทธศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์อยู่ในระดับมาก

Abstract

The objective of this research was to develop organic rice production strategies in Ubon Ratchathani Province. The target groups of this study were 288 organic rice production farmers, the community leaders, and the consumers and 5 specialists in organic rice production. A questionnaire and an interview form were used as the data collection instruments. Percentage, mean, and standard deviation were used for statistical analysis The research findings were as follows.The development strategies of organic rice production had 4 strategic aspects: 1) increasing the planted rice area by promoting the organic rice, organizing information on production, marketing and pricing to develop knowledge for the farmers; 2) increasing the efficiency of organic rice production by supplying production resources with sufficient quality and quantity, developing water sources and irrigation systems, and supporting modern technology for organic rice production; 3) developing organic rice production to meet higher quality standards by providing training involving organic rice to meet international standard; and 4) developing organic rice production farmers to achieve self-sufficiency and sustainability in organic rice production by developing competent local philosophers as centers and networks for technology transferring of organic rice production, and creating awareness of the farmers’ self-reliance. The strategies evaluation showed that the organic rice production strategies had the potential for consistent accomplishment of propriety at the highest level and the feasibility was at a higher level.

วารสารปีที่ 15 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152