การบริหารจัดการกุดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา: บ้านกุดชุม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

การบริหารจัดการกุดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา: บ้านกุดชุม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Local participation in the management of wet land A Case Study: Ban Kut chum, Warin chamrap, Ubon Ratchathani

--------------------------------------------

โดย นาง อนุชา เพียรชนะ1 นันทพร สุทธิประภา1 จุฑารัตน์ ศรีอุไร2 และอรพรรณ วงศรีแก้ว2 Anucha Phiancha

ผู้แต่งร่วม อนุชา เพียรชนะ1 นันทพร สุทธิประภา1 จุฑารัตน์ ศรีอุไร2 และอรพรรณ วงศรีแก้ว2 Anucha Phianchana1 Nanthaporn Sutthiphapa1 Jutharut Sriura2 and Oraphan Wongsrikaew2

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 16 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-05-25 21:10:48

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาการบริหารจัดการกุด กรณีศึกษา : บ้านกุดชุม ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำของกุด การใช้ประโยชน์จากกุด และเพื่อหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากกุดอย่างยั่งยืนโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพน้ำจากกุด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภท 1 สภาพความเข้มแข็งของชุมชนบ้านกุดชุมมีความเข้มแข็งอยู่ในระดับมาก ประชาชนมีการบริหารจัดการน้ำในกุด โดยการนำน้ำมาใช้ในการเกษตรได้แก่ การทำนาปรัง การปลูกผักบุ้ง และการปลูกผักขะแยง ซึ่งการใช้น้ำร่วมกันของประชาชนโดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำในกุดประจำหมู่บ้าน เพื่อการประสานงานและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำจะได้สะดวกและการทำงานจะมีความคล่องตัวมากขึ้นและประชาชนในหมู่บ้านต้องร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำให้สะอาดและมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี คำสำคัญ: การบริหารจัดการ, กุด, การมีส่วนร่วม

Abstract

At present, the trend of tourism culture is becoming popular. The popular destinations are those of lifestyle tourism with unique character. Therefore, in order to prepare for the changes and likely risks in the near future, therefore, this article illustrate the result of a research that study the risks of society and environment in villages that open to local tourist industry. Through qualitative studies, it showed that 39.55% of the locals wanted to participate in the risk management. This indicated that the community is facing risks from tourist industry. Therefore, to improve sustainability and reduce risks to society and environment, we have laid strategies to improve local participant as followed: Strategy 1: Development infrastructure and facilities for tourism. Strategy 2: Development and regeneration of tourism in a sustainable manner. Strategy 3: Establish confidence and promote tourism. Strategies 4: Promote participation of public sector, authority and people. Keywords: Management ,Oxbox Laber ,Participation

วารสารปีที่ 16 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152