การวิเคราะห์ปริมาณแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ทองแดง และสังกะสี ของข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิดำ และข้าวสังข์หยดโคราช ในพื้นที่อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

การวิเคราะห์ปริมาณแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ทองแดง และสังกะสี ของข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิดำ และข้าวสังข์หยดโคราช ในพื้นที่อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

The determination of Magnesium, Phosphorus, Potassium, Copper and Zinc in Jasmine, Black Jasmine and Sungyod Korat Rices in Huai Thalaeng District, Nakhon Ratchasima Province

--------------------------------------------

โดย นาง กมณชนก วงศ์สุขสิน1 Kamonchanok Wongsooksin1

ผู้แต่งร่วม กมณชนก วงศ์สุขสิน1 Kamonchanok Wongsooksin1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 16 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-05-25 21:19:32

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ทองแดง และสังกะสี ในข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิดำ และข้าวสังข์หยดโคราช ในพื้นที่อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยเทคนิคอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตเมทรี ผลการวิเคราะห์พบว่า ปริมาณแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p≤0.05 ยกเว้นปริมาณทองแดง และสังกะสีที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p≤0.05 ระหว่างพันธุ์ปลูก ฟอสฟอรัสมีปริมาณธาตุเฉลี่ยสูงสุด (341.71 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) รองลงมาคือ โพแทสเซียม (204.30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) แมกนีเซียม (182.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) สังกะสี (32.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และทองแดง (0.84 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบข้าวแต่ละพันธุ์พบว่า ข้าวหอมมะลิดำมีปริมาณแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดงสูงที่สุด ส่วนข้าวสังข์หยดโคราชมีปริมาณสังกะสีสูงที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบพันธุ์ของข้าวพบว่า ในข้าวหอมมะลิดำ และข้าวสังข์หยดโคราชมีปริมาณธาตุสูงกว่าข้าวหอมมะลิ และยังพบว่า ข้าวหอมมะลิดำมีปริมาณธาตุสูงกว่าข้าวสังข์หยดโคราช การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าข้าวในพื้นที่อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา มีคุณสมบัติที่ดีในด้านของแร่ธาตุ ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว และพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป จากผลการศึกษาร้อยละการได้กลับคืนมา พบว่า ร้อยละการได้กลับคืนมาอยู่ในช่วง 98.84 - 100.38 ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับ และผลการศึกษาขีดจำกัดของการตรวจวัด พบว่า มีค่าต่ำกว่าปริมาณต่ำที่สุดของธาตุที่วิเคราะห์ได้ แสดงว่า การวิเคราะห์ปริมาณธาตุหลักและธาตุรองด้วยเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์มีความถูกต้อง และมีความแม่นยำสูง คำสำคัญ: ธาตุ ข้าว อะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตเมทรี

Abstract

The aim of this research was to determine of Magnesium, Phosphorus, Potassium, Copper and Zinc in Jasmine, black Jasmine and Sungyod Korat rices from Huai Thalaeng district, Nakhon Ratchasima province by Atomic Absorption Spectrophotometry (AAS) techniques. The results revealed that the content of Magnesium, Phosphorus and Potassium showed significant difference (p≤0.05), except the content of Copper and Zinc had no significant difference (p≤0.05) among rice cultivars. Studies showed that average Phosphorus content was highest (341.71 mg/kg) followed by Potassium (204.30 mg/kg), Magnesium (182.24 mg/kg), Zinc (32.47 mg/kg) and Copper (0.84 mg/kg), respectively. Among rice cultivars, black Jasmine rice showed the highest content of Magnesium, Phosphorus, Potassium and Copper, while the Sungyod Korat rice exhibited the highest content of Zinc. Color rice cultivars include; black Jasmine and Sungyod Korat rice contained higher content of elements than Jasmine rice. In addition, it was found that black Jasmine rice possessed higher content of elements than Sungyod Korat rice. This study indicated that rice cultivars in Huai Thalaeng district, Nakhon Ratchasima province contain various mineral elements which could be used for rice breeding and further product development. The recoveries percentage of elements were in the range of 98.84 - 100.38, which is acceptable. Limit of detection of elements were lower than the lowest of amount of elements detected. These results showed the accuracy and precision of the determination of major and trace elements by using atomic absorption spectrophotometer. Keywords: elements, rice, Atomic Absorption Spectrophotometry

วารสารปีที่ 16 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152