ผลของตาข่ายพรางแสงสีเขียวและรูปร่างหัวพันธุ์ต่อการเจริญเติบโตของกระเจียว (Curcuma singularis Gagnep.)

ผลของตาข่ายพรางแสงสีเขียวและรูปร่างหัวพันธุ์ต่อการเจริญเติบโตของกระเจียว (Curcuma singularis Gagnep.)

Effectsof Green Shading Net and Rhizome Shapes on growth of Kra-Jeeuw (Curcuma singularis Gagnep.)

--------------------------------------------

โดย สมรัก เจริญเชาว์1 และ สุพรรนีอะโอกิ1 Somruk Charernchao1and Supannee Aoki1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-07 15:29:07

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตาข่ายพรางแสงสีเขียวต่อการเจริญเติบโตของกระเจียว Curcuma singularis Gagnep. ในแปลงทดลองปลูกตามสภาพธรรมชาติที่คลุมด้วยตาข่ายพรางแสง สีเขียวระดับต่าง ๆ ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านยางน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างเดือนมีนาคม 2555 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2556 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Desig (RCBD) มี 4 กรรมวิธีคือตาข่ายพรางแสงสีเขียวระดับ 0 50 60 และ 70% และมีจำนวน 2 ซ้ำคือรูปร่างหัวพันธุ์ 2 แบบ คือ แบบตรงกับแบบแง่ง พบว่าการพรางแสง ด้วยตาข่ายพรางแสง 60% มีเปอร์เซ็นต์การงอก ความสูงลำต้น การแตกกอ และเปอร์เซ็นต์การให้ดอก มีค่าสูงที่สุดคือ 100 เปอร์เซ็นต์ 81.0 เซนติเมตร 1.6 ต้นต่อกอ และ 78.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P≤0.05) รองลงมา คือ การคลุมด้วยตาข่ายพรางแสงสีเขียว 70% มีค่าเท่ากับ 93.3 เปอร์เซ็นต์ 85.4 เซนติเมตร 1.3 ต้นต่อกอ และ 74.7เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และตาข่ายพรางแสง 50% ให้ค่า 96.6 เปอร์เซ็นต์ 72.5 เซนติเมตร 1.4 ต้นต่อกอ และ 70.3 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ การไม่พรางแสงมีเปอร์เซ็นต์การงอก ความสูงต้น การแตกกอ ให้ค่าต่ำที่สุดคือ 90 เปอร์เซ็นต์ 59.6 เซนติเมตร 1.1 ต้นต่อกอ ตามลำดับ และไม่พบการออกดอก นอกจากนี้ยังพบว่ารูปร่างหัวพันธุ์ทั้ง 2 แบบ มีการเจริญเติบโตของกระเจียวไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) คำสำคัญ : กระเจียว ตาข่ายพรางแสงสีเขียว รูปร่างหัวพันธุ์

Abstract

The objective of this research was to study the effect of shading and rhizome shapes on growth of Curcuma singularis Gagnep. In its natural area at Ban Yang Noi Learning Center, UbonRatchathani, Rajabhat University, KhueangNai District, UbonRatchathani Province during March 2012 to November 2013. The research was designed by a Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 treatments of green shading net of 0, 50, 60, and 70 shading percentage. The replications were shapes of rhizome ie. straight and spread rhizomes. It was found that by covering with the 60% shade resulted in highest germination percentage, pseudostem height, number leaves per shoot, tillering, and flowering percentage (100%, 95.5 cms, 8.13 leaves per shoot, 1.63 pseudostem per clump and 78.83%, respectively). The 70% results were 93.33%, 85.44 cms, 7.80 leaves per shoot 1.30 pseudostem per clump, and 74.73%,respectively. The 50% results were 96.67%, 72.50 cms, 6.90 leaves per shoot,1.40 pseudostem per clump and 70.27%, respectively. The non-shaded resulted in lowest rates of germination, pseudostem height, number leaves per shoot, and flowering percentage at 90% 59.45 cms, 4.50 leaves per shoot 1.07 pseudostem per clump, and 0% respectively. Results found in two rhizome shapes showed no statistically difference at P>0.05. Keywords : Kra-jeeuw, green shading net, rhizome shape

วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152