ลักษณะทางกายภาพ คุณค่าทางอาหาร และการแตกตัวของโภชนะ ของเปลือกลำไยหมักร่วมกับหญ้ากินนี

ลักษณะทางกายภาพ คุณค่าทางอาหาร และการแตกตัวของโภชนะ ของเปลือกลำไยหมักร่วมกับหญ้ากินนี

Physical Characteristics, Nutritive Value and Degradability of Ensiled Longan Peel with Different Level of Guinea Grass

--------------------------------------------

โดย ปณัท สุขสร้อย1 สมปอง สรวมศิริ1 และอภิชาติ หมั่นวิชา1 Panut Sooksoi1 Sompong Sruamsiri1 and Apichart

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-08-07 15:36:30

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะทางกายภาพ คุณค่าทางอาหาร และการแตกตัวของโภชนะของเปลือกลำไยหมักร่วมกับหญ้ากินนี ใช้แผนการทดลองแบบ 4×2 แฟคทอเรี่ยลแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 2 ปัจจัยคือ ระดับของเปลือกลำไย (100 80 60 และ 40%) และการเสริมกากน้ำตาลเป็นสารช่วยหมัก (ไม่เสริมและเสริม) ผลการศึกษาพบว่าพืชหมักจากเปลือกลำไยหมักร่วมกับหญ้ากินนีมีคะแนนประเมินลักษณะทางกายภาพอยู่ในเกณฑ์พืชหมักที่ดีและมีค่า pH ที่เหมาะสม การเพิ่มระดับหญ้ากินนีมีผลให้เปอร์เซ็นต์วัตถุแห้ง (DM) ของพืชหมักลดลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ค่าเฉลี่ยเยื่อใยรวม (CF) เยื่อใยผนังเซลล์ (NDF) และ ลิกโนเซลลูโลส (ADF) มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ค่าเฉลี่ยโปรตีน (CP) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) การแตกตัวของโภชนะในพืชหมักจากเปลือกลำไยหมักร่วมกับหญ้ากินนี มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อชั่วโมงแช่บ่มนานขึ้น (24 ชั่วโมงเป็น 48 ชั่วโมง) แสดงให้เห็นว่าจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนสามารถใช้ประโยชน์จากโภชนะในเปลือกลำไยหมักร่วมกับหญ้ากินนีได้ โดยเปอร์เซ็นต์การแตกตัวของวัตถุแห้ง โปรตีน และ ลิกโนเซลลูโลส ของพืชหมักมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเพิ่มระดับ หญ้ากินนี (P<0.05) คำสำคัญ : เปลือกลำไย คุณค่าทางอาหาร การแตกตัวของโภชนะ

Abstract

Physical characteristics, nutritive value and degradability of ensiled longan peel with different level of guinea grass was study using 4×2 factorial arrangement in CRD with 4 levels of longan peel (100, 80, 60 and 40%) and 2 levels of molasses (no supplement and supplement). The results showed that physical characteristics and pH of silage from longan peel with guinea grass were in good condition.The increase in the guinea grass level had a significant effect on the decrease in the dry mater (P<0.01) but increase in the ash, crude fiber, neural detergent fiber (NDF) and lignocellulose (ADF) (P<0.05) and no effect found on the crude protien. It was also found that the longer period of incubation resulted in the increase degradability of ensiled longan peel with guinea grass. Moreover, the increase in the guinea grass levels had a significant effect on the increase digestibility of dry matter, crude protien and lignocellulose (ADF) (P<0.05) Keywords : longan peel, nutritive value, degradability

วารสารปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152