ประสิทธิภาพของสารสกัดพืชในการต่อต้าน Alternaria sp. และ Colletotrichum spp. ที่คัดแยกจากใบยางพาราที่เกิดโรคใบจุด

ประสิทธิภาพของสารสกัดพืชในการต่อต้าน Alternaria sp. และ Colletotrichum spp. ที่คัดแยกจากใบยางพาราที่เกิดโรคใบจุด

Efficiency of plant extracts against Alternaria sp. and Colletotrichum spp. isolated from leaf spot disease of para rubber tree

--------------------------------------------

โดย พัชรวรรณ สิทธิศาสตร์1 และ สิริพร ยศแสน1 Patcharawan Sittisart1 and Siriporn Yossan1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2019-05-21 10:50:32

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อค้นหาประสิทธิภาพต้านเชื้อราของสารสกัดน้ำจากพริก หอมแดง (พันธุ์ศรีสะเกษ) และกระเทียม (พันธุ์ศรีสะเกษ) ต่อ Alternaria sp. จำนวน 1 ไอโซเลท (Alternaria sp. SSK2.1) และ Colletotrichum spp. จำนวน 3 ไอโซเลท (Colletotrichum sp. SSK5.3, SSK6.1 และ SSK7.2) ที่ถูกคัดแยกได้จากโรคใบจุดของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทุกความเข้มข้น (20%, 40%, 60% และ 80%) ของสารสกัดพริก หอมแดง และกระเทียม มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราทดสอบทั้งหมด โดยสารสกัดน้ำจากกระเทียมที่ความเข้มข้นสูงสุด มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราต่อทุกไอโซเลทมากถึง 100% ซึ่งมากกว่ากลุ่มสารมาตรฐานเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา (0.25% propineb) และสารสกัดน้ำจากหอมแดงและพริกที่ความเข้มข้นสูงสุด โดยสรุปผลการศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ได้ว่าสารสกัดน้ำจากกระเทียมมีคุณสมบัติต้านเชื้อราที่ถูกคัดแยกได้จากใบยางพาราที่เกิดโรคใบจุดได้ดีที่สุด คำสำคัญ: พริก หอมแดง กระเทียม โรคใบจุด คุณสมบัติต้านเชื้อรา

Abstract

The objective of this study was to determine the efficiency of water extracts from chillies, shallots (Sisaket variety) and garlics (Sisaket variety) against one isolate of Alternaria sp. (Alternaria sp. SSK2.1) and three isolates of Colletotrichum spp. (Colletotrichum sp. SSK5.3, SSK6.1 and SSK7.2) which were isolated from leaf spot disease of para rubber tree (Hevea brasiliensis Muell. Arg.). The results showed that all concentrations (20%, 40%, 60% and 80%) of chilli, shallot and garlic extracts inhibited the growth of all fungi isolates. At the highest concentration of water extract from garlics, the total inhibition of mycelial growth at 100% of all fungal isolates were higher than those of standard fungicide (0.25% propineb) and the highest concentration of shallot and chilli extracts. This study indicated that water extract from garlics possessed strong antifungal property which were isolated from leaf spot disease of para rubber tree. Keywords: chilli, shallot, garlic, leaf spot disease, antifungal property

วารสารปีที่ 17 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152