ความแปรปรวนทางพันธุกรรมและอัตราพันธุกรรมในลักษณะผลผลิตและ องค์ประกอบผลผลิตของงา (Sesamum indicum L.)

ความแปรปรวนทางพันธุกรรมและอัตราพันธุกรรมในลักษณะผลผลิตและ องค์ประกอบผลผลิตของงา (Sesamum indicum L.)

Genetic Variation and Heritability for Yield and Yield Components in Sesame (Sesamum indicum L.)

--------------------------------------------

โดย จักรกฤษณ์ ศรไชย และ อริยาภรณ์ พงษ์รัตน์

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2016-07-04 10:24:43

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมและอัตราพันธุกรรมในลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตงา (Sesamum indicum L.) โดยวิเคราะห์จากความแปรปรวนของประชากร 6 ชั่วรุ่น (P1 P2 F1 F2 BC1 and BC2) ของงา 3 คู่ผสม คือ BL5 x MR13 BL5 x พันธุ์พื้นเมือง และ MR13 x พันธุ์พื้นเมือง ในการประมาณค่าความแปรปรวนเนื่องจากสภาพแวดล้อม ผลการทำงานของยีนแบบบวกและแบบข่ม (environmental, additive and dominance genetic variances) และอัตราพันธุกรรมแบบแคบ (narrow-sense heritability, ) ใช้วิธีของ Warner (1952) และ อัตราการพันธุกรรมอย่างกว้าง (broad-sense heritability, ) ใช้วิธีของ Burton (1951) จากการศึกษาพบว่า ค่าความแปรปรวน ของทุกลักษณะจากทุกประชากรมีอิทธิพลเนื่องจากสภาพแวดล้อมมากกว่าอิทธิพลเนื่องจากยีน แบบผลบวกและแบบข่ม ยกเว้น ลักษณะจำนวนฝักต่อต้น น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และผลผลิตต่อต้น ในคู่ผสม BL5 x พันธุ์พื้นเมือง ค่าอัตราพันธุกรรมแบบกว้างและแบบแคบค่อนข้างต่ำเกือบทุกลักษณะ ยกเว้น น้ำหนัก 1,000 เมล็ด คู่ผสม MR13 x พันธุ์พื้นเมือง ที่มีค่าอัตราพันธุกรรมแบบกว้างสูงสุดเท่ากับ 0.58 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และลักษณะน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ในคู่ผสม BL5 x พันธุ์พื้นเมือง ที่มีค่าอัตราพันธุกรรมแบบแคบสูงสุดเท่ากับ 1.06

Abstract

To study genetic variance and heritability of yield and yield component characters in Sesamum indicum L. Analysis of variance in six generations (P1, P2, F1, F2, BC1 and BC2) was conducted and analyzed from the variance of six generations of three crosses. The first cross was between BL5 (black sesame) and MR13 (red sesame) and the second cross was between BL5 and local line (white sesame) and third cross was between MR13 and local line (white sesame). Environmental variances, additive and dominance genetic variances, narrow-sense heritability ( ) were estimated using Warner method (Warner, 1952). The estimation of broad sense heritability ( ) according to Burton (1951). The results showed that The heritability of all characters were higher environmental variances then additive and dominance genetic variance except only for Number of capsule per plant, 1,000 seed weight, and Yield per plant, of the cross BL5 × local line had the highest broad -sense heritability of 0.58. And 1,000 seed weight of the cross BL5 × local line had the highest narrow-sense heritability of 1.06.

วารสารปีที่ 14 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152