การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านดอนหมู จังหวัดอุบลราชธานี

การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านดอนหมู จังหวัดอุบลราชธานี

Sustainable Community Forest Management in Local Development A case study Ban Don Moo Community Forest, Ubon Ratchathani Province

--------------------------------------------

โดย กาญจนา คุ้มทรัพย์

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2016-07-04 10:14:05

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

ป่าชุมชนคือรูปแบบของการจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่เป็นจัดการร่วมกันระหว่างภาครัฐกับชุมชนท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการป่าชุมชนบ้านดอนหมู ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ว่ามีเงื่อนไขของการจัดการป่าชุมชนอย่างไรจึงนำไปสู่ความสำเร็จและมีความสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลข่าวสารหลักที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการป่าชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำมาสังเคราะห์เพื่อตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านดอนหมูมีกระบวนการจัดการป่าชุมชนที่ประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง นำวัฒนธรรมชุมชนอันเป็นทุนทางสังคมที่เข้มแข็งผสมผสานกับการจัดการป่าชุมชนตามหลักวนศาสตร์ การจัดการป่าชุมชนใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบผ่านการทำวิจัย ชุมชนสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกอย่างสอดคล้องกับความต้องการ ของชุมชน ชุมชนมีกระบวนการเชื่อมโยงกิจกรรมการจัดการป่าชุมชนเข้ากับพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

Abstract

Community Forest management is a pattern of management of forest resources in the form of co-management between the Government and the local community. This study aimed to investigate the process of community forest management at Ban Don Moo, in Ubon Ratchathani Province as a condition of community forest management, however, has led to success and is consistent with the Philosophy of Sufficiency Economy. This study get qualitative research Collected by observation In-depth interviews with key informants involved with the community forest management. Analyze and synthesize information under the framework of integration in the context of the objectives and content of research. The results showed that Ban Don Moo were successful community forest management process consistent with the concept of Sufficiency Economy. The cultural community, combined with strong social capital community forest management based on forest resources. Community forest management in the people participation process and learning process is through the research. Community networking and cooperation from the outside in accordance with the needs of the community. The community forest management activities linked to the community's economic environmental and social contribute to sustainable development.

วารสารปีที่ 14 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152