ผลของตัวทำละลายที่ต่างกันต่อปริมาณแคโรทีนอยด์ในใบมันเทศเก้าพันธุ์

ผลของตัวทำละลายที่ต่างกันต่อปริมาณแคโรทีนอยด์ในใบมันเทศเก้าพันธุ์

The Effect of Various Solvents on Carotenoid Content in Leaves of Nine Sweet Potato Varieties

--------------------------------------------

โดย ภัทร์ลดา สุธรรมวงศ์1*

ผู้แต่งร่วม เดชาธร พันธุ์จ้อย1 อิสระ แก้วทอง1 สุพัตรา คำเรียง1 และ ศิรประภา แก้วมุกดา1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-07-03 13:51:59

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการสกัดแคโรทีนอยด์ในใบมันเทศเก้าสายพันธุ์ในรูปแบบแห้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial In Completely Randomized design (Factorial in CRD) กำหนดให้ปัจจัยที่ 1 คือสายพันธุ์มันเทศ 9 สายพันธุ์ ประกอบด้วยสายพันธ์ส้มแครอท ส้มโอกินาวา เบนิฮารุกะ ทาเนกะ มุราซากิ ม่วงโอกินาวา เพอเพิ้ลสวีทโรด ขาวไข่ ขาวออเรนทอล ซากุระไวท์ ปัจจัยที่ 2 คือตัวทำละลาย 3 ชนิด Acetone: Hexene, Hexene 100% และ Acetone 100 % ผลการทดลองพบว่าพันธุ์ ตัวทำละลาย และปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างพันธุ์ และตัวทำละลายมีผลทำให้ปริมาณสารสกัดแคโรทีนอยด์ในใบมันเทศแห้งแตกต่างทางสถิติ โดยตัวทำละลายชนิด Acetone: Hexene ส่งผลต่อสายพันธุ์ขาวออเรนทอลมีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูงที่สุดซึ่งมี 148.0 µg/100gDW รองลงมาคือสายพันธุ์ม่วงโอกินาวา (141.50 µg/100gDW) และ ทาเนกะมุราซากิ (112.30 µg/100gDW) สำหรับปริมาณสารไลโคปีนนั้น พบว่าการใช้ที่ตัวทำละลาย Acetone 100 % ในพันธุ์ขาวไข่ ทำให้มีปริมาณสารไลโคปีนสูงที่สุดมีค่าเท่ากับ 256.30 µg/100gDW รองลงมาคือสายพันธุ์ส้มโอกินาวา (242.00 µg/100gDW) สายพันธ์เบนิฮารุกะ (219.50 µg/100gDW) สายพันธ์ส้มแครอท (216.30 µg/100gDW) คำสำคัญ: เบต้าแคโรทีน ไลโคปีน ใบมันเทศ ตัวทำละลาย

Abstract

The objective of this study was to determine suitable solvents for extracting carotenoids from leaves of nine sweet potato varieties in dry leaves. The experiment followed a Factorial Completely Randomized Design (Factorial in CRD). Factor 1; comprised nine sweet potato varieties, including Carrot, Orange Okinawa Kugami Imo, Beni Haruka, Tanega Murasaki, Purple Okinawa Beni Imo, Purple Sweet Road, White, White-Oriental, Sakura White. Factor 2; involved three types of solvents: Acetone: Hexene, Hexene 100%, and Acetone 100%. The results showed that the varieties, solvents, and interactions between the varieties and solvents significantly affect the amount of carotenoid extracts in dried sweet potato leaves. Acetone: Hexane solvent type notably impacted the Oriental White variety, exhibiting the highest beta-carotene content at 148 µg/100gDW, followed by the Purple Okinawa Kugami Imo variety (141.50 µg/100gDW) and Taneka Murasaki variety (112.30 µg/100gDW). Additionally, the highest lycopene content, extracted with 100% Acetone solvent, was observed in the White variety, registering at 256.30 µg/100gDW, followed by the Orange Okinawa Kugami Imo variety (242.00 µg/100gDW) Beni Haruka variety (219.30 µg/100gDW) and Carrot variety (216.30 µg/100gDW). Keywords: Beta-carotene, Lycopene, Sweet potato leaves, Solvent

วารสารปีที่ 23 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

160