การเลี้ยงแหนแดงเชิงพาณิชย์ด้วยเศษวัชพืชหมักร่วมกับมูลโค

การเลี้ยงแหนแดงเชิงพาณิชย์ด้วยเศษวัชพืชหมักร่วมกับมูลโค

Commercial Azolla pinnata Culture with Composted Weed Residues with Cow Dung

--------------------------------------------

โดย สุภัชญา ธานี1*

ผู้แต่งร่วม กิตติศักดิ์ ผุยชา1 และ จุฑามาศ สิทธิวงศ์2

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-07-03 13:55:19

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของอัตราส่วนในการใช้เศษวัชพืชเหลือทิ้งมาหมักร่วมกับมูลโคที่ระดับแตกต่างกัน 4 ระดับ ในการเลี้ยงแหนแดงเชิงพาณิชย์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ โดยกำหนดให้ทุกกลุ่มการทดลองมีอัตราส่วนของมูลโคคงที่ เสริมด้วยเศษวัชพืชเหลือทิ้งที่ระดับแตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 1:1, 1:2, 1:3 และ 1:4 ตามลำดับ ใช้แหนแดงน้ำหนักเริ่มต้น 200±0.00 กรัมน้ำหนักสด เลี้ยงนาน 2 สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วนการใช้มูลโคหมักร่วมกับเศษวัชพืชเหลือทิ้งจากปุ๋ยอินทรีย์กลุ่ม 1 (อัตรา 1:1) แหนแดงมีปริมาณน้ำหนักสดเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 646.67±0.02 กรัม รองลงมา ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์กลุ่มที่ 2 (อัตรา1:2), กลุ่มที่ 3 (อัตรา1:3) และกลุ่มที่ 4 (อัตรา1:4) ตามลำดับ โดยมีน้ำหนักสดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 516.67±0.23 500.00±0.03 และ 336.66±0.22 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ (p<0.01) ผลการศึกษา พบว่า อัตราส่วนที่แตกต่างกันของเศษวัชพืชเหลือทิ้งหมักร่วมกับมูลโคมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักสดเฉลี่ยของแหนแดงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) ครั้งนี้การหมักมูลโคร่วมกับเศษวัชพืชเหลือทิ้ง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงแหนแดงได้ โดยกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม อัตรา 1:1) มีความเหมาะสมมากที่สุดในการนำมาใช้เพาะเลี้ยงแหนแดงในเชิงพาณิชย์มากที่สุดคือกลุ่มที่ 1 เนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของแหนแดงคิดเป็นน้ำหนักสดที่ดีที่สุด มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุด 646.67±0.02 กรัม (p<0.01) คำสำคัญ: แหนแดง เศษวัชพืช เชิงพาณิชย์ หมัก มูลโค

Abstract

The purpose of this study was to investigate the appropriateness of ratios for composting weed residues with cow manure at four different levels for commercial Azolla cultivation. The experiment was designed as a Completely Randomized Design (CRD) and divided into four groups, with three replicates each. Every experimental group maintained a constant ratio of cow manure and was supplemented with leftover weeds at four distinct levels, namely 1:1, 1:2, 1:3, and 1:4, respectively. Azolla, with an initial weight of 200±0.00 grams fresh weight, was grown for 2 weeks. The results of the experiment revealed that the composted cow manure with weed scraps from group 1 (1:1 ratio) resulted in Azolla achieving the highest average fresh weight, equal to 646.67±0.02 grams. This was followed by the organic fertilizers from group 2 (1:2 ratio), group 3 (1:3 ratio), and group 4 (1:4 ratio), with average fresh weight increases of 516.67±0.23, 500.00±0.03, and 336.66±0.22 grams, respectively (p<0.01). The study found that the different ratios of weed waste composted with cow dung significantly affected the increase in average fresh weight of Azolla (p<0.01). Thus, composting cow dung with weed residues can be beneficial for Azolla cultivation, with group 1 (control group, 1:1 ratio) being the most suitable for commercial cultivation due to its significant impact on the growth of Azolla, as evidenced by the highest average weight of 646.67±0.02 grams (p<0.01) Keywords: Azolla, weed scraps, commercial, composted, cow dung

วารสารปีที่ 23 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

160