สถานการณ์ความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดแมลงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

สถานการณ์ความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดแมลงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

Current Resistance Situation of the Brown Planthopper to Insecticides in the Upper Northern Thailand

--------------------------------------------

โดย สุกัญญา อรัญมิตร1

ผู้แต่งร่วม กัลยา บุญสง่า2 จินตนา ไชยวงค์1 พยอม โคเบลลี่1 ไอลดา ชุมแสง1 ฉลอง นิลบุตร1 สุภาพร ลิอินทร์1 นฤมล ดุนสุข1 ปัฐวินันท์ บัวสา1 และ ศิริภรณ์ ต้องประสงค์1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 08:49:54

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stål)) เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญในระบบการผลิตข้าวพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง มีความสามารถในการปรับตัวต่อพืชอาหารและสภาพแวดล้อมได้ดี พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในภาคเหนือตอนบนเมื่อปี พ.ศ. 2554 - 2555 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดเกิดจากการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงที่ไม่ถูกวิธี มีการใช้สารเคมีเป็นพื้นที่กว้าง ด้วยปริมาณความเข้มข้นที่สูงและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามสถานการณ์ความต้านทานของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเขตภาคเหนือตอนบนต่อสารป้องกันกำจัดแมลง ในปี พ.ศ. 2565 ได้ทำการเก็บรวบรวมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากนาข้าวในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง ทดสอบระดับความเป็นพิษ (LD50) ต่อสารป้องกันกำจัดแมลงที่เกษตรกรในพื้นที่นิยมใช้ 3 ชนิด ได้แก่ สาร imidacloprid, dinotefuran และ ethiprole ผลการทดลองพบว่าประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จังหวัดเชียงรายและลำปางมีความต้านทานต่อสาร ethiprole ระดับต้านทานต่ำ (6 เท่า) และประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากทั้งสามจังหวัดยังไม่ต้านทานต่อสาร imidacloprid และ dinotefuran ข้อมูลนี้สามารถใช้เป็นคำแนะนำการเลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลงในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบนอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับระดับความต้านทานของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแต่ละพื้นที่ คำสำคัญ: ข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ความต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดแมลง ค่าความเป็นพิษ (LD50) พื้นที่ภาคเหนือตอนบน

Abstract

Brown planthopper (BPH), Nilaparvata lugens (Stål), is a significant insect pest in irrigated rice fields in Thailand's lower northern and central regions. They are capable of rapidly adapting to their environments and rice varieties. The upper northern part had its first severe outbreak from 2011 to 2012. Inappropriate insecticide application with a high concentration over a long period and spread over an enormous area cause severe outbreaks. The investigation of insecticide resistance in BPH was the objective of this research. BPH populations were collected from rice fields in Chiang Rai, Chiang Mai, and Lampang provinces in 2022. The toxicity level (LD50) was tested on three insecticides commonly used by farmers in the area: imidacloprid, dinotefuran, and ethiprole. The results demonstrate that the BPH populations collected from Chiang Rai and Lampang provinces showed slight resistance to ethiprole (6-fold) and no resistance levels were observed in imidacloprid and dinotefuran in all BPH populations. According to the level of BPH resistance in each area, this information can be utilized to make recommendations for the insecticides to use in order to effectively manage BPH in the upper northern region. Keywords: rice, Nilaparvata lugens (Stål), insecticide resistance, LD50, Northern Thailand

วารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

184