ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคขอบใบแห้งของข้าว

ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคขอบใบแห้งของข้าว

Efficiency of Chemicals for Controlling Bacterial Blight Disease of Rice

--------------------------------------------

โดย ศุภลักษณา สนคงนอก1

ผู้แต่งร่วม วันพร เข็มมุกด์1 วัลยา รักแก้ว1 สุภาวดี ฤทธิสนธิ์1 อัญชนา ดลชลา1 วิพากษ์ อ่อนทรัพย์1 จันจิรา ชัยกล้า1 สุกัญญา อรัญมิตร1 และ พยอม โคเบลลี่1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 09:27:46

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

โรคขอบใบแห้ง (Bacterial blight) มีเชื้อสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo) เมื่อเชื้อเข้าทำลายต้นข้าวจะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงปัจจุบันพบการระบาดเพิ่มมากขึ้น การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคขอบใบแห้งของข้าว ได้แก่ สาร zinc thiazole สาร copper hydroxide สาร copper oxychloride และสาร tribasic copper sulfate ความเข้มข้นตามอัตราแนะนำ ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Xoo จำนวน 5 ไอโซเลต ได้แก่ XanSPB2019, XanCNT2019, XanCMI2019, XanPLG2019 และ XanSKN2019 ด้วยวิธี paper disc diffusion ในสภาพห้องปฏิบัติการ พบว่าสาร copper oxychloride มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Xoo ได้ดีแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับชุดควบคุม รองลงมาเป็นสาร copper hydroxide และสาร tribasic copper sulfate การทดสอบในโรงเรือนทดลองที่มีการปลูกเชื้อลงบนข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ด้วยวิธี clipping method พบว่าสาร zinc thiazole สามารถควบคุมโรคขอบใบแห้งดีที่สุด แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รองลงมาเป็นสาร copper oxychloride สาร copper hydroxide และสาร tribasic copper sulfate ร้อยละความรุนแรงของโรค เท่ากับ 21.19, 28.06, 30.95 และ 31.16 ตามลำดับ การทดสอบในสภาพแปลงนาจำนวน 3 แปลง ได้แก่ 1) ฤดูนาปรัง พ.ศ. 2565 ที่ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ฤดูนาปี พ.ศ. 2565 ที่ตำบลดอนเกาะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ฤดูนาปี พ.ศ. 2565 ที่ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าสาร zinc thiazole มีร้อยละความรุนแรงของโรคต่ำที่สุด คือ 15.38, 10.37 และ 10.99 ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับชุดควบคุม คือ 68.75, 15.56 และ 38.92 ตามลำดับ ดังนั้นสาร zinc thiazole จึงเป็นสารที่ให้ผลในการควบคุมโรคขอบใบแห้งได้ดีที่สุด คำสำคัญ: ข้าว โรคขอบใบแห้ง ประสิทธิภาพ สารป้องกันกำจัดโรคข้าว

Abstract

Bacterial blight (BB) disease caused by Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo). This disease causes severe damage as well as a reduction in yield overall. BB epidemics have increased rapidly in recent years. The use of chemicals is one practical method. The aim of this research was to evaluate the efficacy of bacterial blight chemicals, including zinc thiazole, copper hydroxide, copper oxychloride, and tribasic copper sulfate at recommended dosages with the paper disc diffusion method in the laboratory conditions to suppress five Xoo isolates, namely XanSPB2019, XanCNT2019, XanCMI2019, XanPLG2019, and XanSKN2019. The results showed that copper oxychloride significantly controlled the growth of Xoo bacteria as compared to the control. Copper hydroxide and tribasic copper sulfate ranked second. The Phitsanulok 2 rice variety and an artificial inoculation with bacterial suspension using the clipping method were used in experiments carried out in the experimental greenhouse. The results indicated that zinc thiazole was the most effective treatment for bacterial blight, with a statistically significant difference from the control. The following are copper oxychloride, copper hydroxide and tribasic copper sulfate. The comparable percentages of severity were 21.19, 28.06, 30.95, and 31.16. respectively. Three paddy field conditions were tested: 1) in the dry season 2022 at Hantra subdistrict, Phra Nakhon Si Ayutthaya district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province 2) in the wet season 2022 at Don Ko Ka subdistrict, Bang Nam Priao district, Chachoengsao province and 3) in the wet season 2022 at Don Chimplee subdistrict, Bang Nam Priao district, Chachoengsao Province. The zinc thiazole group showed the lowest percentage of disease severity, 15.38, 10.37, and 10.99, respectively, in Bang Nam Priao District, Chachoengsao province. Zinc thiazole was found to be the most effective chemical with percentages of severity 15.38 10.37 and 10.99, significantly different from the control were 68.75, 15.56 and 38.92 respectively. In conclusion, zinc thiazole is the most effective chemical for controlling bacterial blight. Keywords: rice, bacterial leaf blight, chemical efficiency, chemical control

วารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

185