การศึกษาการใช้หญ้าเนเปียร์ในอาหารปลานิล (Oreochromis niloticus)

การศึกษาการใช้หญ้าเนเปียร์ในอาหารปลานิล (Oreochromis niloticus)

Study on the Use of Napier Grass in Tilapia (Oreochromis niloticus) Diet

--------------------------------------------

โดย ราชิต เพ็งสีแสง

ผู้แต่งร่วม สิทธิ กุหลาบทอง

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 09:36:17

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้หญ้าเนเปียร์ในอาหารปลานิล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาหารในการเลี้ยงปลานิล จากหญ้าเนเปียร์ และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอาหารแต่ละสูตรในการเลี้ยงปลานิลการใช้หญ้าเนเปียร์ในการเลี้ยงปลานิล โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ด้วยกระบวนการผสมสูตรอาหารที่ต่างกัน 4 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ ได้แก่ สูตรที่1 อาหารสำเร็จรูป 100 % สูตรที่ 2: อาหารสำเร็จรูป: หญ้าเนเปียร์: รำละเอียด: 50%: 30%: 20% สูตรที่ 3: อาหารสำเร็จรูป: หญ้าเนเปียร์: รำละเอียด: 30%: 50%: 20% และ สูตรที่ 4: อาหารสำเร็จรูป: หญ้าเนเปียร์: รำละเอียด: 0%: 80%: 20% ในบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.78 เมตร สูง 50 เซนติเมตร จำนวน 12 บ่อ อัตราการปล่อย 30 ตัวต่อบ่อ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ซึ่งมีผลดังนี้ ด้านน้ำหนัก ในสูตรที่ 1 มีน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุดคือ 305.5 กรัม รองลงมาคือ สูตรที่ 2 สูตรที่ 3 และสูตรที่ 4 เท่ากับ 305.2 ก. 303.3 ก. และ 302.8 ก. ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ด้านอัตราการแลกเนื้อ สูตรที่ 1 มีอัตราการแลกเนื้อดีที่สุด คือ 2.57 รองลงมาคือสูตรที่ 3 สูตรที่ 2 และ สูตรที่ 4 เท่ากับ 2.58, 2.59 และ 2.59 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ด้านอัตราการรอด สูตรที่ 4 มีอัตราการรอดมากที่สุด ร้อยละ 95.56 รองลงมาคือ สูตรที่ 3 สูตรที่ 2 และสูตรที่ 1 เท่ากับ ร้อยละ 94.44, 92.22 และ 91.22 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และด้านต้นทุนค่าอาหารต่อกิโลกรัม สูตรที่ 4 มีต้นทุนต่ำที่สุด คือ 2.28 บาท/กก. รองลงมาคือ สูตรที่ 3 สูตรที่ 2 และสูตรที่ 1 เท่ากับ 7.05, 10.23 และ 17.50 บาท/กก. ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการทดลองสามารถนำหญ้าเนเปียร์มาเสริมในอาหารปลานิลได้สูงสุดถึง 80 % และสามารถลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิลได้ คำสำคัญ: ปลานิล หญ้าเนเปียร์ สมรรถภาพการเติบโต

Abstract

The use of Napier grass for tilapia diet (Oreochromis niloticus) to compare each feed formula's efficiency in tilapia culture was studied. This study used a Completely Randomized Design (CRD) with 4 different feed formula mixing processes, 3 replications, namely Treatment1 : 100% commercial feed, Treatment 2: commercial feed: Napier grass: rice bran: 50%: 30%: 20%, Treatment 3 : commercial feed: Napier grass: rice bran: 30%: 50%: 20% and Treatment4 : commercial feed: Napier grass: rice bran: 0%: 80%: 20%. Tilapia was cultured in 12 cement ponds with a diameter of 0.78 m, a height of 50 cm, with a stock density of 30 fish per pond for12 weeks. Which has the following results: weight: in T1, the average weight of tilapia was 305.5 g. followed by T2, T3, and T4; the formula had weights of 305.2 g, 303.3 g, and 302.8 g, respectively, which were significantly different (p<0.05). The best feed conversion ratio, it found that T1 was 2.57, followed by T3, T2, and T4 were 2.58, 2.59, and 2.59, respectively which were significantly different (p<0.05). In terms of survival rate, it found that T4, tilapia had the highest survival rate of 95.56%, followed by T3, T2, and T1 were 94.44, 92.22 and 91.22 %, respectively, which were significantly different (p<0.05). It found that formula 4 had the lowest cost of 2.28 baht/kg, followed by formula 3, formula 2, and formula 1 at 7.05, 10.23, and 17.50 baht/kg, respectively, which were statistical significance (p<0.05). From the experimental results, Napier grass can be added to the tilapia diet up to 80% and can reduce the cost of raising tilapia. Keywords: Tilapia, Napier grass, growth performance

วารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

184