การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมสุขภาพของ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมสุขภาพของ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

A study of the Relationship Between Family Factors and Health Behaviors of Undergraduate Students at Ubon Ratchathani Rajabhat University

--------------------------------------------

โดย สุกัลยา นันตา1*

ผู้แต่งร่วม พิศุทธิภา เมธีกุล1 และ รัชนีกร โชติชัยสถิตย์1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 09:38:43

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านครอบครัวและระดับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 420 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.4 และเพศชาย ร้อยละ 28.6 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 – 22 ปี ร้อยละ 71.0 ชั้นปีที่ศึกษาส่วนใหญ่อยู่ชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 35.7 ชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 30.5 ชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 21.4 และชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 12.4 ระดับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาปริญญาตรีในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ ปัจจัยครอบครัวด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยครอบครัวด้านสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยครอบครัวด้านความเชื่อด้านสุขภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คำสำคัญ: การทำหน้าที่ของครอบครัว ความเชื่อด้านสุขภาพของครอบครัว นักศึกษาปริญญาตรี พฤติกรรมสุขภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว

Abstract

This research aimed to investigate (1) family factors and levels of health behaviors among undergraduate students at Ubon Ratchathani Rajabhat University and (2) the relationship between family factors and the health behaviors of undergraduate students at Ubon Ratchathani Rajabhat University. The research sample consisted of 420 undergraduate students. Data were collected through a questionnaire, and the statistical analysis employed was Pearson's Correlation. The results revealed a gender distribution of 71.4% females and 28.6% males within the survey participants. A majority (71.0%) fell within the 20 to 22-year age range. Academic classification exhibited the following distribution: 2nd year (35.7%), 1st year (30.5%), 3rd year (21.4%), and 4th year (12.4%). The overall health behavior level of undergraduate students was found to be at a moderate level. The research highlighted significant positive correlations between family functioning, family relationships, and health behaviors (p < 0.01). Similarly, family health beliefs exhibited a significant positive correlation with health behaviors (p < 0.01). This study emphasizes the pivotal role of family dynamics, family relationships, and family health beliefs in shaping the health behaviors of undergraduate students. Keywords: family functioning, family health beliefs, health behaviors, undergrad students, family relationships.

วารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

185