พฤติกรรมการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและสารพิษตกค้างในผลผลิตข้าว ของเกษตรกรภายใต้ศูนย์ข้าวชุมชน

พฤติกรรมการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและสารพิษตกค้างในผลผลิตข้าว ของเกษตรกรภายใต้ศูนย์ข้าวชุมชน

Pesticide Application Behaviors and Pesticide Residues in Rice Grains from the Community Rice Centers

--------------------------------------------

โดย สุกัญญา อรัญมิตร1* ผกามาศ วงค์เตย์2 รัตนวรรณ จันทรศศิธร2 รัตติกาล อินทมา2 กัลยา บุญสง่า3

ผู้แต่งร่วม ขวัญชนก ปฏิสนธิ์4 ชณินพัฒน์ ทองรอด5 วันรียา บุญสัน6 ยุพดี รัตนพันธ์7 นรภัทร ศรีษะนอก8 ดลตภร โพธิ์ศิริ9 อนุชิตา รัตนรัตน์9 กันต์ธณวิชญ์ ใจสงฆ์10 บุปผารัฐ รอดภัย10 และ ปริญญา เชื้อชูชาติ11

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 10:03:11

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

ศูนย์ข้าวชุมชนเป็นแหล่งผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี และเป็นจุดสาธิตเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว การจัดทำแปลงขยายพันธุ์เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์เป็น การปฏิบัติอันดับแรกที่กำหนดคุณภาพเบื้องต้นของเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ ปริมาณและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์จะดีมากน้อยเพียงใดขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษา เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากแปลงขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพต่ำจะไม่สามารถปรับปรุงให้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีได้ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานและเมล็ดพันธุ์ที่เหลือ จากการจำหน่ายจะถูกนำมาสีเป็นข้าวสารสำหรับการบริโภคในครัวเรือนหรือจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและการตกค้างของสารป้อง กันกำจัดศัตรูข้าวในผลผลิตข้าวของเกษตรกรที่อยู่ภายใต้ศูนย์ข้าวชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 8 เขต โดยการสัมภาษณ์ จังหวัดละ 50 และ 100 ราย ช่วงเดือนมกราคม 2564–สิงหาคม 2565 พบว่า เกษตรกรใช้สารป้องกันกำจัดแมลงที่มีรายงานทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเกิดการระบาดเพิ่มซึ่งไม่แนะนำให้ใช้ในนาข้าว และสารที่เป็นวัตถุอันตรายกำจัดแมลง ไร และสัตว์ศัตรูพืชที่ห้ามใช้ทางการเกษตร การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวที่กรมการข้าวแนะนำ พบเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และชัยนาท ใช้ในระยะแตกกอสูงที่สุด (34.44-43.71%) ข้าวระยะออกรวงพบเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา และเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวสูงสุด (7.67-20.93%) เมื่อตรวจวิเคราะห์การตกค้างของสารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของผลผลิตข้าว 204 ตัวอย่าง พบสารตกค้าง 60 ตัวอย่าง (ร้อยละ 29) ตัวอย่างข้าวจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก พบจำนวนตัวอย่างมีสารตกค้างสูงสุด ตรวจพบ azinphos methyl, dichlorvos, deltamethrin, ethiprole, thiophanate-methyl, cyproconazole, propiconazole, tebuconazole และ tricyclazole ปริมาณที่พบไม่เกินค่ากำหนดของมาตรฐาน Codex’s MRLs แต่เกินค่ากำหนดของมาตรฐาน EU-MRLs ข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นการติดตามสถานการณ์การใช้สารเคมีในการผลิตข้าวและสารตกค้างในผลผลิตข้าวของเกษตรกรภายใต้ศูนย์ข้าวชุมชนทั่วประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามคำแนะนำของทางราชการ เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่เกษตรกรในชุมชน นำไปสู่การลดการใช้สารเคมีในอนาคตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) คำสำคัญ: ข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน พฤติกรรมการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูข้าว สารพิษตกค้าง

Abstract

The community rice centers play a key role in producing and distributing quality seeds, as well as demonstrating rice production technologies. The first crucial step in the seed production process is land preparation of rice seed production, which promise to quality of the seed produced. The quantity and quality of seeds depend on this step. If the seeds are not qualified the standard, they cannot be further improved as high quality seeds. Unqualified seed grains and the rest seeds from selling will be milled for household consumption or selling in the markets. The purpose of this study was to examine pesticide use behaviors of farmers and to analyze pesticide residues in rice grains from community rice centers at 8 districts. The study conducted from January 2021 to August 2022 by interviewing 50 and 100 farmers/province. The result showed that farmers applied insecticide without follow the recommendations resulted in increased outbreaks of the brown planthopper. The results also showed that these insecticide types were in the unrecommended list to use in rice fields due to harmful substance containment for useful insects, mites and pests. The results revealed that farmers in Phra Nakhon Si Ayutthaya, Lop Buri and Chai Nat provinces sprayed highest pesticide amount in the tillering stage (34.44-43.71%). Whilst the highest amount of using insecticides and fungicides in the heading stage were found in Prachin Buri, Nakorn Nayok and Chachoengsao. Whilst the highest amount of insecticide application by farmers were in Nakhonsawan, Pichit and Pitsanulok (7.67—20.93%). From analyzing the pesticide residues of 204 rice seed samples, the results found pesticide residues in 60 samples (29%). Pesticide residues in rice seed samples from Chainat, Nakhonsawan, Pichit and Pitsanulok were highest. The results also showed that the amount of azinphos methyl, dichlorvos, deltamethrin, ethiprole, thiophanate-methyl, cyproconazole, propiconazole, tebuconazole and tricyclazole were below the limits of Codex's MRLs, but exceed residue level limit in the EU-MRLs. This information reflects the current situation of pesticide application in rice seed production and residues in rice grains in the community rice centers across the country. Our key findings can be used as a guideline for managing the pesticides applications on rice correctly and providing appropriately according to government recommendations. The suitable rice production technologies were selected to transfer to the farmers to minimize in chemical use and for sustainable development with the government's policy driving the BCG (Bio-Circular-Green Economy) economic model. Keywords: rice, the community rice center, behavior of pesticide, pesticide residue

วารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

185