การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สารตัวเร่งต่างชนิดต่อการย่อยสลายเพื่อ ลดการใช้มูลสัตว์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สารตัวเร่งต่างชนิดต่อการย่อยสลายเพื่อ ลดการใช้มูลสัตว์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

Efficiency of Various Catalysts on Compost Decomposition to Reduce the Use of Farm Yard Manure to Produce Organic Fertilizer

--------------------------------------------

โดย ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์

ผู้แต่งร่วม กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 13:27:34

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารเร่งต่างชนิดต่อการย่อยสลายปุ๋ยอินทรีย์ วางแผนการทดลองแบบ 2x4 Factorial จัดสิ่งทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ ปัจจัย A เป็นชนิดพืช 2 ชนิดคือ ผักตบชวา และใบจามจุรี ปัจจัย B เป็นสารตัวเร่ง 4 ชนิด คือ มูลโค, เชื้อจุลินทรีย์ EM, เชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา และปุ๋ยยูเรีย เก็บข้อมูลที่ 30 และ 60 วันหลังหมักปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ คุณสมบัติทางเคมีและปริมาณธาตุอาหารหลัก จากนั้นนำมาทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์กับการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของพืชทดสอบ คือ พริกพันธุ์จินดา ผลการศึกษา พบว่า ที่ระยะเวลา 60 วัน ปุ๋ยอินทรีย์มีค่า pH, EC, Organic carbon และ C/N ratio ลดลง ส่งผลให้มีอัตราการย่อยสลายดีกว่าระยะเวลา 30 วัน แต่มีปริมาณ OM, Total N, Total P และ Total K ไม่แตกต่างกันทั้ง 2 ช่วงเวลาการเก็บข้อมูล สำหรับใบจามจุรีหมักด้วยไตรโคเดอร์มาให้ค่า Total N สูงสุด ผักตบชวาหมักด้วยไตรโคเดอร์มาทำให้มี Total P สูงสุด และผักตบชวาหมักด้วยไตรโคเดอร์มาและ EM ทำให้มี Total K สูงสุด และมีประสิทธิภาพดีเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้มูลโคเป็นสารตัวเร่งการย่อยสลาย เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ (หมัก 60 วัน) ไปทดสอบกับพริกพันธุ์จินดา พบว่า ปุ๋ยจากผักตบชวาหมักร่วมกับไตรโคเดอร์มา ใบจามจุรีหมักร่วมกับไตรโคเดอร์มา และใบจามจุรีหมักร่วมกับ EM ส่งผลให้พริกพันธุ์จินดามีการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตสูงสุด (19.50, 19.25 และ 18.12 กรัมต่อกระถาง) ตามลำดับ ดังนั้น สารตัวเร่งที่นำมาทดสอบคือ ไตรโคเดอร์มาหรือ EM จึงอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการใช้เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ คำสำคัญ: ปุ๋ยอินทรีย์ การย่อยสลาย มูลสัตว์

Abstract

This research aimed to study various catalysts on the decomposition of organic fertilizer. The experiment plan was 2 x 4 factorial with randomized complete block design. Factor A consisted of 2 plant material types i.e. water hyacinth straw and rain tree leaves. Factor B were 4 catalysts i.e. cow manure, effective microorganism (EM), Trichoderma, and Urea. Chemical properties and macronutrient contents were collected at 30 and 60 days after composting. The compost was then tested for qualities on Chinda chili. The study found that there was a decrease in pH, EC, Organic carbon, and C/N ratio at 60 days. This meant there was a better decomposition than after 30 days. However, there was no different in OM, Total N, Total P, and Total K in both time periods. Highest total N was found in rain tree leaves with Trichoderma while water hyacinth straw with Trichoderma resulted in the highest in total P. Highest total K was resulted from water hyacinth straw with Trichoderma and EM and the efficiency was better with cow manure as a catalyst. The 60 days water hyacinth straw with Trichoderma, rain tree leaves with Trichoderma, and rain tree leaves with EM composts on Chinda chili resulted in 19.50, 19.25, and 18.12 grams per pot, respectively. Therefore, Trichoderma and EM could be used to increase degradation efficiency for organic fertilizer production. Keywords: Organic fertilizer, decomposition, farmyard manure

วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

184