ผลของสูตรอาหารและชนิดของชิ้นส่วนพืช ต่อการขยายพันธุ์มะนาวไม่รู้โห่ในสภาพปลอดเชื้อ

ผลของสูตรอาหารและชนิดของชิ้นส่วนพืช ต่อการขยายพันธุ์มะนาวไม่รู้โห่ในสภาพปลอดเชื้อ

Effect of Culture Media and Explant Types on Micropropagation of Karanda (Carissa carandas L.) In Vitro

--------------------------------------------

โดย สุจิตรา สืบนุการณ์

ผู้แต่งร่วม นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 13:30:33

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาหาชิ้นส่วนและความเข้มข้นของ BA ที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์มะนาวไม่รู้โห่โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วางแผนการทดลองแบบ 2×6 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งออกเป็น 12 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 10 ซ้ำ โดยการนำตายอดและตาข้างมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0 1 3 5 7 และ 9 ppm. ผลการทดลอง พบว่า ชิ้นส่วนที่เหมาะสมที่สุด คือ ตายอด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนวันที่เกิดยอดใหม่ จำนวนยอดใหม่เฉลี่ยต่อชิ้นส่วน และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตดีที่สุด และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนพืชกับสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่า การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนตายอดมะนาวไม่รู้โห่ในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 7 ppm. มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีพัฒนาการของชิ้นส่วนอย่างรวดเร็ว โดยมีการเจริญเติบโตของต้นสูงที่สุด (2.75 เซนติเมตร) มีจำนวนวันที่เกิดยอดใหม่เร็วที่สุด (7 วัน) มีความสูงเฉลี่ยของยอดใหม่ และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 1.18 เซนติเมตร และ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีจำนวนยอดใหม่เฉลี่ยปานกลาง (3 ยอดต่อชิ้นส่วน) รองลงมา ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนตายอดในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA 3 ppm. มีจำนวนยอดใหม่เฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 3.37 ยอดต่อชิ้นส่วน และ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีความสูงเฉลี่ยยอดใหม่ปานกลาง คือ 0.91 เซนติเมตร ในขณะที่การใช้ชิ้นส่วนตาข้างในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 ppm. ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตน้อยที่สุด (40 เปอร์เซ็นต์) และไม่สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่ได้ คำสำคัญ: มะนาวไม่รู้โห่ การขยายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Abstract

This research aimed to find suitable explants and appropriate concentration of BA for Karanda propagation by tissue culture. The experiment was based on 2×6 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) with 12 treatments and 10 replications in each treatment. Apical and axillary buds were cultured on MS media with BA concentrations at 0, 1, 3, 5, 7, and 9 ppm. The results were revealed that the most suitable explant was apical bud. This was due to the best results of average height, duration for new shoots emergence, average shoots per explant and survival percentage. When the relationship between the explant and growth regulator were considered, it was found that culturing the Karanda apical shoots on MS media with 7 ppm BA concentration was most suitable. This was due to the best shoot development (2.75 cm.), duration for new shoots emergence (7 days), the average new shoot height (1.18 cm), and surviving rate (70%). The average new shoot number was moderate (3 shoot per explant), however. This was followed by culturing apical shoot in MS media with 3 ppm BA. This resulted in the average new shoot number of 3.37 shoots per explant, the surviving rate of 70%, moderate average new shoot height of 0.91 cm. The use of axillary bud with MS media with 9 ppm BA concentration was not recommended because of the lowest surviving rate of 40% and no shoot development. Keywords: Karanda, Micropropagation, Tissue culture

วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

184