ผลของชนิดดินที่แตกต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตของต้นม้ากระทืบโรง
ผลของชนิดดินที่แตกต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตของต้นม้ากระทืบโรง
Effect of Different Soil Types on Growth of Ficus Foveolata Wall
--------------------------------------------
โดย นันทวัน ทองพิทักษ์ , ขจิตา มัชฌิมา , ธนกร สุทธิสนธิ์ และสมพร เทพฉิม
ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2016-07-04 10:26:43
ดาวน์โหลด
บทคัดย่อ
ต้นม้ากระทืบโรง เป็นไม้พุ่มเถาขนาดใหญ่เปลือกสีน้ำตาลดำ มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร และเนื่องจากความต้องการใช้สมุนไพรที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้สมุนไพรเหล่านั้นลดลงและการเดินทางเพื่อที่จะเก็บยาสมุนไพรก็จะมีความลำบากเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นม้ากระทืบโรง ในพื้นที่บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ปลูกโดยใช้ดินปลูกที่แตกต่างกัน ได้แก่ ดินภูเขา ดินพื้นที่และ ดินเพาะปลูก ภายใต้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ หน่วยทดลองที่ใช้ ได้แก่ ต้นม้ากระทืบโรง ที่มีความ ยาวรอบลำต้น 1.4 ซม. ตัดเป็นท่อนจำนวน 27 ท่อน ความยาวท่อนละ 35 ซม. ค่าสังเกต ได้แก่ การเจริญเติบโตของต้นม้ากระทืบโรง วัดจากจำนวนใบและความยาวใบ ผลการทดลอง พบว่า ต้นม้ากระทืบโรงที่ปลูกในดินเพาะปลูกมีจำนวนใบโดยเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 3.89 ใบ มีความยาวใบโดยเฉลี่ย 1.53 ซม. รองลงมาคือ ดินภูเขา มีจำนวนใบโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 ใบ มีความยาวใบโดยเฉลี่ย 2.13 ซม.และดินพื้นที่ มีจำนวนใบโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.89 ใบ มีความยาวใบโดยเฉลี่ย 1.21 ซม.ตามลำดับ การเปรียบเทียบความยาวใบโดยเฉลี่ยของต้นม้ากระทืบโรง ต้นม้ากระทืบโรง ที่ปลูกในดินที่แตกต่างกันทั้ง 3 ชนิด มีความยาวใบโดยเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ในทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 (p> .05) แสดงว่า ต้มม้ากระทืบโรงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทั้ง 3 ชนิด
Abstract
The plant ‘ficus foveolata wall’ is a large vine tree whose bark is blackish brown. It has a medicinal property. Thanks to increasing demands for the herbs, the medicinal plants are in decline. As a result, it is essential to collect and study the medicinal plants. The research aimed to study and compare the growth of ficus foveolata wall at Ban Talong of Huaypai sub-district in Ubon Ratchathani’s Khongchiam district. A study was conducted on the plant in question which was grown in three different types of soils: mountainous soil, locally available soil and soil specifically used for planting in Experimental Completely Randomized design (CRD). The experimental subject was the plant species, ‘ficus foviolata wall’ whose trunk length was 1.4 centimeters. The plant was cut into 27 pieces. Each piece was 35 centimeters. The long growth of ‘ficus foveolata wall’ was measured from the number of its leaves and leaf length. The experiment found that the tree plant which was grown in the specifically arranged soil had a maximum leaf average of 3.89, the average leaf length was 2.13 centimeters. The tree plant which was grown in the locally available soil had the leaf average of 1.89 and the leaf length was 1.21 centimeters. Considering a comparison of the average leaf length of the plant in the study, it was found that the plant ‘ficus foveolata wall’ which was grown in three types of soils had no different leaf length at a significant level of .05 (p> .05). It meant that the plant in the study could grow in three types of the soil.