การจัดการความรู้ในการผลิตกุ้งขาวแวนาไม กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี
การจัดการความรู้ในการผลิตกุ้งขาวแวนาไม กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี
The Knowledge Management of White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Production, Case study in Phetchaburi
--------------------------------------------
โดย จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ , เสนาะ กลิ่นงาม , วราห์ เทพาหุดี n และสมสุข แขมคำ1
ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2016-07-04 10:11:20
ดาวน์โหลด
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการเลี้ยงและปัญหาอุปสรรค (3) การจัดการฟาร์ม (4)การจัดการความรู้ จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 171 คน (จากทั้งหมด 233 คน) แบ่งเป็นฟาร์มที่มีผลกำไรสูง 9 ฟาร์ม และฟาร์มที่มีผลกำไรต่ำ 162 ฟาร์ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.55 ปี จบการศึกษา ในระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้งเฉลี่ย 10.36 ปี เลี้ยงกุ้งขาวเป็นอาชีพหลัก ขนาดบ่อเฉลี่ย 4.34 ไร่ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P0.05) สภาพพื้นที่การเลี้ยงรวมถึงปัจจัยการผลิตที่ใช้ ไม่แตกต่างกัน เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงกุ้ง 3 รอบต่อปี ในน้ำความเค็ม 0-20 ส่วนในพัน เลี้ยงแบบเปลี่ยนถ่ายน้ำน้อย มีการพักน้ำ ตากบ่อและลอกเลนเป็นบางครั้ง ซื้อลูกกุ้งและอาหารผ่านตัวแทนจำหน่าย โรคระบาดจากไวรัสเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด ฟาร์มที่มีผลกำไรสูงมีระดับการปฏิบัติที่ดี (GAP) ที่เข้มข้นกว่าฟาร์มที่มีผลกำไรต่ำ (P≤0.05) และมีการจัดการฟาร์มแบบพัฒนา โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ คือ ปริมาณผลผลิต อัตราปล่อยและผลตอบแทน
Abstract
The aims of study were to investigate (1) the socio-economic conditions; (2) farming conditions and related problems; (3) farm management(4) knowledge management of white shrimp(Litopenaeus vannamei) production. A hundred and seventy-one representative shrimp farmers (from 233 registered farmers) were randomly selected. The sample population consisted of 9 high-profit farms and162low-profit farms. Data were collected using questionnaires. The results showed that the majority of farmers were male; mean age 47.55; with primary level education and 10.36years experience in shrimp farm operation. Shrimp farming was their primary occupation. The average pond size was not significantly different(P0.05). The farm conditions and sources of input were not different. Most farms produced 3 batches of shrimp a year and used water with salinity 0-20 parts per thousand. Most farms used a system of infrequent water circulation. They used holding ponds and sedimentation ponds and cleaned and dried occasionally. Farmers bought post-larva shrimp and pelleted feed from dealers. Viral diseases were the most common problem. For farm management, high-profit farms were more significantly intensive than low-profit farms to engage in GAP (P≤0.05).There are three main factors that affect knowledge management which include Income, yield and shrimp density.