ผลของการเติมกากน้ำตาลต่อคุณภาพและการย่อยได้ของข้าวฟ่างหวานหมัก

ผลของการเติมกากน้ำตาลต่อคุณภาพและการย่อยได้ของข้าวฟ่างหวานหมัก

Effect of Addition of Molasses on Quality and Digestibility of Sweet Sorghum Silage

--------------------------------------------

โดย นิรันดร หนักแดง

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2016-07-04 10:21:26

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนะและการย่อยได้ ของข้าวฟ่างหวานหมักร่วมกับกากน้ำตาล 4 เปอร์เซ็นต์ และข้าวฟ่างหวานหมักธรรมดาที่ไม่เสริมกากน้ำตาล (กลุ่มควบคุม) ในแพะเพศเมียจำนวน 8 ตัว อายุ 1 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 15-20 กิโลกรัม โดยใช้แผนการทดลองแบบ Group comparison ผลการทดลองพบว่าข้าวฟ่างหวานที่หมักร่วมกับกากน้ำตาล มีปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำได้ และกรดแลคติก เท่ากับ 4.72 6.64 และ 7.61 เปอร์เซ็นต์ ลำดับ ซึ่งสูงกว่าที่พบในข้าวฟ่างหวานหมักแบบธรรมดาที่มีค่าเท่ากับ 3.68 3.48 และ 4.93 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (P<0.05) ปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งในแพะที่ได้รับข้าวฟ่างหวานหมักร่วมกับกากน้ำตาลและข้าวฟ่างหวานหมักธรรมดามีค่าเท่ากับ 709.41 และ 756.81 กรัมต่อวัน และปริมาณการกินได้ผนังเซลล์มีค่าเท่ากับ 767.94 และ 898.01 กรัมต่อวัน ตามลำดับ แต่แพะที่ได้รับข้าวฟ่างหวานหมักร่วมกับกากน้ำตาลมีปริมาณการกินได้ของโปรตีนสูงกว่าแพะที่ได้รับข้าวฟ่างหวานหมักแบบธรรมดา (P0.05) โดยมีค่าเท่ากับ 83.91 และ 71.21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง และผนังเซลล์ ของข้าวฟ่างหวานที่หมักร่วมกับกากน้ำตาลมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการหมักแบบธรรมดา แต่ค่าการย่อยได้ของโปรตีนมีค่าสูงกว่า (P0.05) โดยมีค่าเท่ากับ 72.90 และ 65.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามอัตราอัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวของแพะไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม

Abstract

This aim of the study is to compare nutritive value and digestibility of sweet sorghum silage with 4 % molasses and sweet sorghum silage (control) in eight female goats with an average of 1 years old, 15-20 kg body weight (BW) was used in grouped comparison design. The result showed that protein, WSC and lactic acid concentration were higher for sweet sorghum with 4 % molasses (4.72, 6.64, and 7.61%) than control silage (3.68, 3.48 and 4.93%), respectively (P0.05). Silage with 4% molasses showed lower dry matter (709.41 vs 756.81 g/day) and cell wall intake than control silage (767.94 vs 898.01 g/day) (P0.05) respectively. However protein intake of sorghum silage with 4% molasses was higher than sorghum silage (83.91 and 71.21 g/day) respectively (P0.05).The coefficient of dry matter digestibility (63.05 and 60.15%) and cell wall (76.66 and 75.24%) were not significant different between treatments. Protein digestibility of silage with molasses was significant higher than silage with no molasses (P0.05) with mean value of 72.90 and 65.88% respectively. However weight gain weight change were not significant differences between treatment (P>0.05).

วารสารปีที่ 14 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

185