ผลของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักยีสต์ ร่วมกับกากน้ำตาลต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนในโคเนื้อ

ผลของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักยีสต์ ร่วมกับกากน้ำตาลต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนในโคเนื้อ

Effect of Yeast Fermented Cassava Pulp from Ethanol Production with Molasses on Feed Intake, Digestibility and Rumen Fermentation in Beef Cattle

--------------------------------------------

โดย นาง เทอดศักดิ์ ปุระมงคล 1* และกังวาน ธรรมแสง 2 Terdsak Puramongkon 1 and Kungwan Thummasaeng 2

ผู้แต่งร่วม เทอดศักดิ์ ปุระมงคล 1* และกังวาน ธรรมแสง 2 Terdsak Puramongkon 1 and Kungwan Thummasaeng 2

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2018-05-25 22:11:13

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักด้ยยีสต์ร่วมกับกากน้ำตาลต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนในโคเนื้อ วางแผนการทดลองแบบ 3x3 Replicated Latin Square Design โดยใช้กากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักด้วยยีสต์ร่วมกับกากน้ำตาลที่ระดับ 0, 3 และ 6 % ในสัดส่วน 20 % ของอาหารข้น ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณการกินได้ของอาหาร ปริมาณการกินได้ของอินทรียวัตถุ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่ปริมาณการกินได้ของโปรตีน และไขมัน ในกลุ่มที่ใช้กากน้ำตาลที่ระดับ 0 % และ 3 % สูงกว่า (P<0.01) กลุ่มที่ใช้กากน้ำตาล 6 % ปริมาณการย่อยได้ และกรดไขมันระเหยง่ายทั้งหมด พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่กรดอะซิติคในกลุ่มที่ใช้กากน้ำตาล 0 % สูงกว่า กลุ่มที่กากน้ำตาล 3 % และ 6 % (P<0.01) กรดโปรปิโอนิคในกลุ่มที่ใช้กากน้ำตาล 3 % และ 6 % สูงกว่ากลุ่มที่ใช้กากกากน้ำตาล 0 % (P<0.01) ระดับของแอมโมเนียไนโตรเจนในกระเพาะรูเมน และระดับของยูเรียไนโตรเจนในเลือด พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า การใช้กากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักด้วยยีสต์ร่วมกับกากน้ำตาลที่ระดับ 3 % จะส่งผลดีต่อกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนในโคเนื้อ คำสำคัญ: กากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอล, กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน

Abstract

The objective of this study was to determine the effect of yeast fermented cassava pulp from ethanol production with molasses on feed intake, digestibility and rumen fermentation in beef cattle. The experiment was laid out in a 3x3 Replicated Latin Square Design. There were three levels of molasses (0 %, 3 %, and 6 % w/w) and yeast fermented cassava pulp from ethanol production, which 20 % in concentrate. The result showed that feed intake and organic matter intake were not significantly different (P>0.05), but CP intake and EE intake in 0 and 3 % of molasses were highter than 6 % (P<0.01). Digestibility and total volatile fatty acid were not significantly different, but acitic acid in 0 % of molasses were highter than 3 % and 6 % (P<0.01). Propionic acid in 3 % and 6 % of molasses were higher than 0 % (P<0.01). Rumen NH3 and blood urea nitrogen (BUN) were not significantly different (P>0.05). As a result, it was concluded that yeast fermented cassava pulp from ethanol with 3 % of molasses can be advantage in rumen fermentation. Keywords: Cassava pulp from ethanol production, Rumen fermentation

วารสารปีที่ 16 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152