ผลของปอเทืองต่อสมบัติบางประการของดินและผลผลิตของข้าว ที่ปลูกในดินเนื้อหยาบ

ผลของปอเทืองต่อสมบัติบางประการของดินและผลผลิตของข้าว ที่ปลูกในดินเนื้อหยาบ

Effects of Sunn Hemp (Crotalaria juncea L.) on Some Soil Properties and Rice Yield Grown on Coarse-Textured Soils

--------------------------------------------

โดย จักรชัยวัฒน์ กาวีวงศ์ และจิรายุส สุทะยะ

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-10-27 13:51:59

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด ต่อสมบัติบางประการของดิน และผลผลิตของข้าว เพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำสำหรับการผลิตข้าวพันธุ์ กข6 ที่ปลูกตามหลังในดินเนื้อหยาบ โดยกำหนดปอเทืองในอัตราเมล็ดที่ต่างกันเปรียบเทียบกับอัตราปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล๊อกสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 6 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ ได้แก่ อัตราเมล็ดปอเทือง 0, 5, 10, 15, 20 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 12-3-3 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ผลการศึกษาพบว่าการไถกลบปอเทืองที่อัตราเมล็ด 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ส่งผลในด้านบวกต่อความหนาแน่นรวม ความพรุน ค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยของดิน และสามารถเพิ่มปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินได้ นอกจากนี้การใช้ปอเทืองในอัตราเมล็ดที่ต่างกันในแต่ละระดับมีผลทำให้ผลผลิตของข้าว จำนวนรวงต่อกอ และเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการใช้ปอเทืองอัตราเมล็ด 15 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยและจำนวนรวงต่อกอเฉลี่ยสูงสุด ส่วนอัตราเมล็ดปอเทือง 10 กิโลกรัมต่อไร่ทำให้ข้าวมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีเฉลี่ยสูงสุด สำหรับจำนวนเมล็ดต่อรวงและน้ำหนัก 1,000 เมล็ด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ จากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะนำปอเทืองมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวในดินเนื้อหยาบได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต คำสำคัญ: ปอเทือง ปุ๋ยพืชสด ข้าว ไนโตรเจน ดินเนื้อหยาบ

Abstract

This study aimed to evaluate the effect of sunn hemp (Crotalaria juncea L.) on soil properties and also on rice yield. This aimed as a recommendation guide for growing rice variety RD 6 on coarse textured soils. Different rates of sunn hemp seeds were compared to recommended chemical fertilizer rate. The experiment was designed based on RCBD with 6 treatments and each treatment contained 4 replications. The treatments were 5 different seeding rate i.e., 0, 5, 10, 15, 20 and a control (recommended chemical fertilizer 12-3-3 kilogram N-P2O5-K2O rai-1). The results showed that sunn hemp seeding rate at 10-20 kilogram rai-1 improved average soil bulk density, porosity, pH and total nitrogen in coarse-textured soils. Moreover, using seeding rate in different level showed that yield, number of panicle hill-1 and percentage of filled grain were significantly different. Using seeding rate at 15 kilogram rai-1 gave the maximum average yield and number of panicle hill-1. Average percentage of filled grain in treatment using seeding rate at 10 kilogram rai-1 was highest. However, average number of spikelet panicle and 1000 grain weight had no statistically significant difference. Based on the results, it is possible that using sunn hemp as a green manure can sustainably replace or reduce the use of chemical fertilizers for rice production grown on coarse-textured soils. Keywords: sunn hemp, green manure, rice, nitrogen, coarse-textured soils

วารสารปีที่ 18 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152