ผลผลิตและลักษณะทางพืชอาหารสัตว์ของหญ้ารูซี่ หญ้ากินนีบอมบาซา และหญ้ามูลาโต้ 2 ที่ปลูกในชุดดินเพชรบุรี

ผลผลิตและลักษณะทางพืชอาหารสัตว์ของหญ้ารูซี่ หญ้ากินนีบอมบาซา และหญ้ามูลาโต้ 2 ที่ปลูกในชุดดินเพชรบุรี

Yields and Forage Characteristics of Ruzi Grass, Mombasa Guinea Grass and Mulato II Grass Grown in Phetchaburi Soil Series

--------------------------------------------

โดย ศรัณย์พงศ์ ทองเรือง สุภาวดี มานะไตรนนท์ วัชราภรณ์ รวมธรรม และ ชัยวัฒน์ วัชรนารถ

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-03 14:45:48

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตและลักษณะทางพืชอาหารสัตว์ของหญ้ารูซี่ หญ้ากินนีมอมบาซา และหญ้ามูลาโต้ 2 ที่ปลูกในชุดดินเพชรบุรีโดยใช้แผนการทดลอง CRD จำนวน 3 ซ้ำ ศึกษาหญ้าที่อายุ 45 วัน พบว่า หญ้ารูซี่ หญ้ากินนีมอมบาซา และหญ้ามูลาโต้ 2 ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งและสัดส่วนใบต่อลำต้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยมีผลผลิตน้ำหนักแห้ง 170.80±28.21, 241.58±16.56 และ 218.76±24.41 กก. DM/ไร่ ตามลำดับ และมีค่าสัดส่วนใบต่อลำต้น 16.29±6.64, 22.12±10.32 และ 19.27±6.43 ตามลำดับ หญ้ากินนีมอมบาซามีความสูง (81.67±5.97 ซม.) และเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น (9.06±1.09 มม.) สูงที่สุด หญ้ามูลาโต้ 2 มีความสูง (40.97±3.56 ซม.) และเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น (2.47±0.09 มม.) ต่ำที่สุด ในทางกลับกันหญ้ากินนีมอมบาซามีจำนวนหน่อต่อต้นต่ำที่สุด (8.00±1.99) และหญ้ามูลาโต้ 2 มีจำนวนหน่อต่อต้น (34.40±0.87) สูงที่สุด ขณะที่หญ้ารูซี่มีค่าทั้ง 2 อยู่ระหว่างหญ้ามอมบาซาและหญ้ามูลาโต้ 2 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าหญ้ามอมบาซาและหญ้ามูลาโต้ 2 แสดงลักษณะการเป็นพืชอาหารสัตว์ที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับหญ้ารูซี่ โดยหญ้ามอมบาซามีความสูงของต้นและเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นสูงที่สุด ขณะที่หญ้ามูลาโต้ 2 มีจำนวนหน่อต่อต้นสูงที่สุด คำสำคัญ: หญ้ารูซี่ หญ้ากินนีมอมบาซา หญ้ามูลาโต้ 2 ผลผลิต ลักษณะทางพืชอาหารสัตว์

Abstract

The aim of this research was to compare the yields and forage characteristics of Ruzi grass, Mombasa guinea grass and Mulato II grass grown in Phetchaburi soil series. The experimental design was CRD with 3 replications. Grass was studied at the age of 45 days. It was found that Ruzi grass, Mombasa guinea grass and Mulato II grass were not significantly different in dry matter yields and leaf/stem ratio (P>0.05). Dry matter yields of Ruzi grass, Mombasa guinea grass and Mulato II grass were 170.80±28.21, 241.58±16.56 and 218.76±24.41 kg. DM/rai, respectively, and leaf/stem ratio were 16.29±6.64, 22.12±10.32 and 19.27±6.43, respectively. Mombasa guinea grass were highest in tiller height (81.67±5.97 cm) and tiller diameter (9.06±1.09 mm), Mulato II grass were lowest in tiller height (40.97±3.56 cm) and tiller diameter (2.47±0.09 mm). On the other hand, Mombasa guinea had the lowest tiller number (8.00±1.99) while Mulato II grass had the highest tiller number (34.40±0.87). Whereas both values of Ruzi grass were in the middle between Mombasa guinea grass and Mulato II grass. The results showed that Mombasa guinea grass and Mulato II grass showed good in forage characteristics compared to Ruzi grass. Mombasa guinea grass were highest in tiller height and tiller diameter while Mulata II grass was highest in tiller number. Keywords: Ruzi grass, Mombasa guinea grass, Mulato II grass, yields, forage characteristics

วารสารปีที่ 19 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152