ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ณ คลินิก CAPD โรงพยาบาลม่วงสามสิบ

ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ณ คลินิก CAPD โรงพยาบาลม่วงสามสิบ

-

--------------------------------------------

โดย วิภา มะลา วลัยพรรณ ชินชัยสิรภัทร พรพิมล ศรีเกตุ อนัญญา วรรณา สุกัลยา นันตา ศศิมล มุ่งหมาย รัชดา อุ

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-18 10:03:55

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตช่องท้อง ณ คลินิก CAPD โรงพยาบาลม่วงสามสิบ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ (Interview) โดยผ่านการตรวจสอบความตรง (validity) ด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ 0.81 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยใช้การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 61 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ย 649 บาท/เดือน มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีโรคร่วม คือ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้บัตรประกันสุขภาพในการรักษา ระยะเวลาของการล้างไตทางช่องท้องส่วนใหญ่ 1-12 เดือน ส่วนใหญ่ไม่เคยรับประทานอาหารนอกบ้าน และปรุงอาหารแยกกับสมาชิกในครอบครัว ผู้ป่วยทั้งหมดเคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมจาก แพทย์ พยาบาล และ คำสำคัญ: พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การล้างไตทางช่องท้อง

Abstract

-

วารสารปีที่ 18 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152