เปรียบทียบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ Piperaceae ในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura Fabricius (Lepidoptera: Noctuidae)

เปรียบทียบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ Piperaceae ในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura Fabricius (Lepidoptera: Noctuidae)

Comparison Efficiency of Essential oils form Piperaceae in Controlling the Common Cutworm, Spodoptera litura Fabricius (Lepidoptera: Noctuidae)

--------------------------------------------

โดย ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ และดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-18 10:19:42

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ Piperaceae ได้แก่ พริกไทยดำ ดีปลีและใบชะพลูในการเป็นสารฆ่าและสารยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนกระทู้ผักวัย 3 โดยวิธีการจุ่มใบคะน้า (leaf dipping method) ที่ระดับความเข้มข้น 0.5, 1.0, 2.0, 4.0 และ 8.0 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง นำใบคะน้าลงในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ รองก้นกล่องด้วยกระดาษฟางชุบน้ำเพื่อให้ความชื้น ปล่อยหนอนกระทู้ผักวัย 3 ที่อดอาหาร 2 ชั่วโมง จำนวน 10 ตัวต่อกล่อง ทำการทดสอบ 3 ซ้ำ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการชีววิทยาอุณหภูมิห้อง 25-27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการเป็นสารฆ่าและการยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนกระทู้ผักสูงสุดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ความเชื่อมั่น 95เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบกับสารน้ำมันหอมระเหยจากดีปลีและใบชะพลู ที่ความเข้มข้นที่ 8 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการเป็น คำสำคัญ: น้ำมันหอมระเหย, พืชวงศ์ Piperaceae, หนอนกระทู้ผัก, Spodoptera litura

Abstract

The objective of this study is comparison efficiency of essential oils form Piperaceae (Piper nigrum L., Piper longum L. and Piper sarmentosum Roxb.) as insecticidal and inhibiting growth on the 3rd larvae of common cutworm, Spodoptera litura Fabricius (Lepidoptera: Noctuidae). The leaf dipping method at various concentrations of essential oils form Piperaceae 0.5, 1.0, 2.0, 4.0 and 8.0% (v/v) were applied. After solvent evaporation at room temperature, leave of Brassica alboglabra were placed in a clean petri dish. Ten third instar larvae were starved for 2 h and then released into the Petri dish and were replicated for three times. The treatments were arranged in a completely randomized design (CRD) and was conducted at laboratory of biology at temperature (25-27°C) and RH (75-80%). The results found that the essential oils form P. nigrum as insecticidal activity and inhibiting growth on 3rd larvae of common cutworm was significantly effective (p<0.05)when compared with the essential oils form P. longum and P. sarmentosum. At 8% of essential oils form P. nigrum was effective as insecticidal activity on 3rd larvae of common cutworm. The percent of mortality was the highest 96.6% and LC50 value with 15.0% at 24 h. While the percent of mortality of essential oils form P. longum and P. sarmentosum was 56.6 and 66.6% and the LC50 value with 4.23 and 7.74%, respectively. Besides, at 0.5% of the essential oils form P. nigrum was 25.66% of mortality of pupa stage when compared with the control was 0.00%. The time of development of pupa stage and adult stage were 13.33+0.47 and 3.33+0.47 days, respectively. While the percent of mortality of essential oils form P. longum and P. sarmentosum was 20.33 and 18.33%, respectively. The time of development of pupa stage and adult stage were 8.66+0.47, 12.66+0.47 days and 5.66+0.47, 5.33+0.47 days, respectively. Keywords: Essential oils, Piperaceae, common cutworm, Spodoptera litura

วารสารปีที่ 17 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152