ผลของการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และไคโตซานทางใบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของมันสำปะหลัง

ผลของการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และไคโตซานทางใบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของมันสำปะหลัง

Effect of Application of Chemical Fertilizer, Organic Fertilizer and Chitosan as Foliar Fertilizer on Growth and Yield of Cassava (Manihot esculenta L. Crantz)

--------------------------------------------

โดย ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์ กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย เหล็กไหล จันทะบุตร และวิทยา ตรีโลเกศ

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-18 10:22:09

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่ปลูกบนดินร่วนปนทราย ในสภาพไร่นาของเกษตรกร ตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงเดือนกันยายน 2558 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design; RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 7 ตำรับการทดลอง ดังนี้ 1) ตำรับควบคุม (ไม่มีการใส่ปุ๋ย) 2) ฉีดน้ำเปล่าที่อายุต้น 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูก 3) ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่อายุต้น 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูกอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร 4) ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำสกัดมูลสุกรที่อายุต้น 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูกอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร 5) ฉีดพ่นไคโตซานที่อายุต้น 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูกอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร 6) ฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบที่อายุต้น 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูก อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ7) ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ทางดินที่อายุ 1 เดือน อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การให้ปุ๋ยทางใบมีแนวโน้มทำให้มันสำปะหลังมีผลผลิตหัวสดสูงสุด อยู่ระหว่าง 5,525 - 6,250 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้การให้ปุ๋ยทางใบยังมีแนวโน้มทำให้มีร้อยละการสะสมแป้งสูงสุดอยู่ในช่วง 22.25 - 24.25 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยทางใบทำให้มันสำปะหลังมีผลการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ทางดิน โดยให้ผลผลิตหัวสดมันสำปะหลังและร้อยละการสะสมแป้งเท่ากับ 5,050 กิโลกรัมต่อไร่ และ 22.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คำสำคัญ: มันสำปะหลัง ไคโตซาน ปุ๋ยทางใบ

Abstract

The objective of this study was to investigate the productivity of cassava cv. Kasetsart 50, which grown at the farmer’s field (Sandy clay loam) in Nong Chik Sub-District, Borabue District, Maha Sarakham Province. This study was carried out during November 2014-September 2015. The experimental was conducted using Randomized Complete Block Design (RCBD) with 7 treatments on 4 replications as follow: 1) control (non-treated), 2) water application, 3) organic fertilizer application (20 cc./ 20 L of water), 4) swine manure extract application (20 cc./ 20 L of water), 5) Chitosan application (20 cc./ 20 L of water), 6) complete fertilizer (15-15-15) application (20 g/ 20 L of water), these applications were conducted as foliar fertilizer at one-, two- and three- month after planting, and 7) complete fertilizer (15-15-15) application as side dressing one-month after planting (50 kg/rai) The results showed that the applications as foliar fertilizer tended to give the highest cassava yield of 5,525-6,250 kg/rai. Moreover, foliar fertilizer application also tended to give the highest starch of 22.25-24.25 %. However, the application as foliar fertilizer did not differ significantly from the application as side dressing (15-15-15) which gave cassava yield and starch of 5,050 kg/rai and 22.00%, respectively. Keywords: cassava, Chitosan, foliar fertilize

วารสารปีที่ 17 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152