ผลกระทบของอุทกภัยในปี 2554 ต่อกิจกรรมเพาะเลี้ยงหอย บริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

ผลกระทบของอุทกภัยในปี 2554 ต่อกิจกรรมเพาะเลี้ยงหอย บริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

The Effect of Flooding in 2011 on Shellfish Culture at Bandon Bay, Surat Thani Province

--------------------------------------------

โดย อมรภัค ณ นคร พนาลี ชีวกิดาการ และ สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-18 10:37:52

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของกิจกรรมเพาะเลี้ยงหอย บริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานี จากเหตุการณ์อุทกภัยในปี 2554 รวมทั้งการวิเคราะห์แนวทางสำหรับการลดผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย การศึกษานี้มีการเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเกี่บวกับพื้นที่เพาะเลี้ยงหอย ต้นทุนและผลประโยชน์จากการเพาะเลี้ยงหอย รวมทั้งข้อมูลคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งของพื้นที่อ่าวบ้านดอน ในช่วงฤดูฝน การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เพาะเลี้ยงหอยจำนวน 25 ฟาร์ม เกี่ยวกับการดำเนินการเลี้ยงหอย การจัดการการเลี้ยง และผลกระทบที่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า หลังเหตุการณ์อุทกภัย ปี 2554 ข้อมูลต้นทุนการผลิตที่น้อยลง และผลกำไรที่สูง จึงทำให้หอยแครงเป็นชนิดพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงบริเวณอ่าวบ้านดอนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริเวณอ่าวบ้านดอนตอนในซึ่งตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำตาปี พบว่า มีค่าความเค็มต่ำสุด และปริมาณแบคทีเรียสูงสุด ขณะที่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำตาปี พบว่า มีค่าสารอาหารและการสะสมของตะกอนสูง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในช่วงฤดูฝนหรือช่วงการเกิดอุทกภัยส่งผลกระทบต่อการลดลงของผลผลิตหอย ดังนั้น หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องสนับสนุนให้มีระบบเตือนภัย การทำความสะอาดผลผลิตหอย และการรวมกลุ่มของผู้เพาะเลี้ยง เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยบริเวณอ่าวบ้านดอนในทิศทางที่ยั่งยืนต่อไป คำสำคัญ: การเลี้ยงหอย, อ่าวบ้านดอน, อุทกภัย

Abstract

The purpose of this study was to study situations of shellfish culture at Bandon Bay, Surat Thani province, since flooding in 2011. In addition, this paper proposes recommendations to reduce the impact of flooding on shellfish farming. This paper carried out both primary and secondary data consisting of cultural areas, costs and benefits of production and coastal seawater characteristics during the rainy season. Field observation and in-depth interviews were carried out in 25 selected farms which had cultural operations, managing techniques, and environmental impact. The results showed that after flooding, because of economic concerns, blood cockle culture has been popular at Bandon Bay due to low production costs and high profits. The flooding had severe effects on shellfish culture. Particularly, as the inner bay was near the discharge point, it was the lowest in salinity and the highest in bacteria levels in the rainy season. The east side of the Tapi River was the highest in nutrients and had the highest sediment accumulation. The change in coastal seawater quality during rainy seasons or flooding affected shellfish production. The government sectors need to support farmers for warning systems, sanitary control and strong networking. Farmer cooperation can be an additional driver for the sustainable development of shellfish farming. Keywords: Shellfish culture, Bandon Bay, Flooding

วารสารปีที่ 15 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152