ผลของปุ๋ยหมักอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรต่อการผลิตกะหล่ำดอกลูกผสมไวท์บารอน

ผลของปุ๋ยหมักอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรต่อการผลิตกะหล่ำดอกลูกผสมไวท์บารอน

Effect of Organic Compost with Fermented Bio-extracts from Agricultural Waste on Hybrid Cauliflower White Baron Production

--------------------------------------------

โดย สุจิตรา สืบนุการณ์* นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน และ ปิยะพร ทองจันทร์

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2021-06-28 10:41:38

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยหมักอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่ำดอกลูกผสม ไวท์บารอน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 (อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่) กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลวัว กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเปลือกผลไม้ ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนใบเฉลี่ย น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อตารางเมตร และเปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยมากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 12.84 ใบต่อต้น 358.76 กรัมต่อต้น 1.52 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และ 46.10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มทำให้พืชมีเส้นผ่าศูนย์กลางดอกกะหล่ำเฉลี่ย และผลผลิตเกรด B มากที่สุด คือ 5.52 เซนติเมตร และ 48.80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนผลผลิตตกเกรด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่ มีความสูงเฉลี่ยของต้น 22.29 เซนติเมตร จำนวนใบเฉลี่ย 10.79 ใบต่อต้น น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย 0.51 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ย 23.40 เปอร์เซ็นต์ และ เส้นผ่าศูนย์กลางดอกกะหล่ำเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 เซนติเมตร คำสำคัญ: กะหล่ำดอกลูกผสม ไวท์บารอน ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

Abstract

The research aimed to study and compare the result of organic compost with fermented bio-extracts from Agricultural Waste and chemical fertilizer on Hybrid Cauliflower White Baron production. The experiment plan was based on Randomized Complete Block Design (RCBD). The experiment was divided into 5 treatments (T) and each treatment contained 3 replications. T1 used 13 – 13 – 21 chemical fertilizer at 100 kg/rai. T2 used Bokashi composting and chicken manure bio-extract. T3 used Bokashi composting and cow manure bio-extract. T4 used Bokashi composting and pig manure bio-extract. T5 used Bokashi composting and fruit peel bio-extract. The experiment showed that the used of 13 – 13 – 21 chemical fertilizer resulted in the highest average plant height, average leaf number, average plant weight, average yield per m2 and flowering percentage at 28.26 cm, 12.48 leaves, 358.76 g 1.52 kg/m2 and 46.10% respectively. The result was statically different. The result also showed the tendency of highest flower diameter and grade B production i.e. 5.52 cm, and 48.80%, respectively. Yield that could not pass the grading was medium. This followed by T2 with the average height of 22.29 cm and average 10.79 leaves per plant. The average yield was 0.52 kg/m2 with flower percentage of 23.40% and flower diameter of 3.45 cm. Keywords: Hybrid Cauliflower, White Baron, Chemical fertilizer, Bokashi composting, Fermented Bio-extracts

วารสารปีที่ 20 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152