อิทธิพลของการเพิ่มสารอาหารและเอทานอลต่อคุณภาพดอกและ อายุการปักแจกันของเบญจมาศตัดดอก (Dendranthema grandiflora Tzvelev.)

อิทธิพลของการเพิ่มสารอาหารและเอทานอลต่อคุณภาพดอกและ อายุการปักแจกันของเบญจมาศตัดดอก (Dendranthema grandiflora Tzvelev.)

Influence of pulsing and ethanol on flower quality and vase life of cut chrysanthemum (Dendranthema grandiflora Tzvelev.)

--------------------------------------------

โดย อุบล ชินวัง1,2* วรรณพร ดวงพัตรา1 และสุภาภรณ์ จันพวง1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2022-06-28 11:22:22

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพและอายุการปักแจกันของเบญจมาศชนิดดอกเดี่ยวจากพื้นที่ปลูกจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการในฤดูการผลิตปี 2563 จำนวน 2 การทดลองคือ (1) การเพิ่มสารอาหาร (ซูโครส) ความเข้มข้น 0 (น้ำกลั่น) 5 10 และ 15% เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ให้แก่เบญจมาศพันธุ์ไรวารี่ และขาวสโนว์ ก่อนการปักแจกันในน้ำกลั่น (pH 6.29) ในสภาพห้อง (22.8°C และความชื้นสัมพัทธ์ 71.1%) และ (2) การใช้สารละลายเอทานอล (ความเข้มข้น 0.5 และ 1.0%) และ/หรือซูโครส (ความเข้มข้น 5%) สำหรับการปักแจกันดอกเบญจมาศพันธุ์ไรวารี่ เปรียบเทียบกับน้ำกลั่นในสภาพห้อง (24.9°C และความชื้นสัมพัทธ์ 72.4%) ผลการทดลองที่ 1 พบว่าการเพิ่มสารอาหารให้แก่เบญจมาศพันธุ์ไรวารี่ไม่มีผล (P>0.05) ต่อคุณภาพดอก (ความสดของกลีบดอก และเส้นผ่านศูนย์กลางของดอก) ปริมาณการดูดน้ำต่อวัน และอายุการปักแจกัน (19.40-19.75 วัน) เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำกลั่น (20.00 วัน) และการเพิ่มสารอาหารทุกความเข้มข้นทำให้เบญจมาศพันธุ์ขาว สโนว์มีการบานของดอกมากขึ้นในช่วงแรกของการปักแจกัน แต่ไม่มีผลต่ออายุการปักแจกัน (15.90-17.70 วัน) ดอกไม้พันธุ์นี้ที่ผ่านการเพิ่มสารอาหารทุกกรรมวิธีมีอายุการปักแจกันสั้นกว่าพันธุ์ไรวารี่ (16.73 และ 19.71 วัน ตามลำดับ) การศึกษาต่อมากับเบญจมาศพันธุ์ไรวารี่ใช้วิธีการแช่ปลายก้านดอกในน้ำกลั่น เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ก่อนนำไปปักแจกันในสารละลายเคมี (เอทานอล และ/หรือซูโครส) เปรียบเทียบกับน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) และพบว่าเบญจมาศที่ปักแจกัน ในสารละลายเอทานอลทั้งสองความเข้มข้น ดูดน้ำใน ปริมาณมากกว่าชุดควบคุม และดอกไม้ที่ปักแจกันในสารละลายซูโครสเพียงชนิดเดียวและซูโครสร่วมกับเอทานอล ทั้งสองความเข้มข้น ดอกไม้ในกรรมวิธีดังกล่าวจึงมีคุณภาพดอก (ความสดของกลีบดอกและใบ และเส้นผ่านศูนย์กลางของดอก) ที่ดีกว่า (P0.01) ดอกไม้ในกรรมวิธีอื่นๆ ในระหว่างการปักแจกัน และมีอายุการปักแจกันที่มากกว่า (P0.05) (เฉลี่ย 18.85 วัน) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (16.30 วัน) และสารละลายซูโครสและ/หรือเอทานอลทั้งสามกรรมวิธี (13.1 13.0 และ 12.9 วัน ตามลำดับ) นอกจากนี้ การใช้สารละลายเอทานอลทั้งสองความเข้มข้นเป็นสารละลายสำหรับการปักแจกันเบญจมาศ พบแนวโน้มของการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์บริเวณปลายก้านดอก (6 เซนติเมตร) ลดลง คำสำคัญ: เอทานอล ซูโครส เบญจมาศตัดดอก อายุการปักแจกัน

Abstract

Study on flower quality and vase life of standard type cut chrysanthemum produced from Ubon Ratchathani was undertaken in the 2020 production season using two experiments. The first experiment was to determine the effect of sucrose pulsing at 0 (distilled water), 5, 10 and 15% concentrations for 4 hours on ‘Rivalry’ and ‘Kaosnow’ cut chrysanthemums before holding in distilled water (pH 6.29) at ambient condition (22.8°C and 71.1% relative humidity [RH]). The second one was to investigate the effectiveness of ethanol (0.5 & 1.0%) and/or 5% sucrose solutions as holding solutions of ‘Rivalry’ cut chrysanthemum, compared to distilled water (control) at ambient temperature (24.9°C and 72.4% RH). The result of the first experiment showed that there were no significant differences (P>0.05) among treatments of sucrose pulsing of ‘Rivalry’ flowers in flower quality (petal freshness and flower diameter), water uptake and vase life (19.40-19.75 days), compared to distilled water (20.00 days). However, all of the sucrose pulsing of ‘Kaosnow’ flowers markedly increased flower diameter during the first duration of the vase period, without a significant difference in vase life (15.90-17.70 days). The pulsed ‘Kaosnow’ flowers had less vase life than ‘Rivalry’ flowers (16.73 and 19.71 days, respectively). The following study of ‘Rivalry’ flowers was conducted using 0% sucrose pulsing for 4 hours before holding the flower in various holding solutions (ethanol and/or sucrose). The flowers of both ethanol solutions had higher volume of water uptake than the control and the other holding solutions. The flowers exhibited greater (P0.01) quality of petal freshness and flower diameter, and had more (P0.05) vase life (averagely 18.85 days) than the control (16.30 days) and the sucrose solutions with or without ethanol (13.10, 13.00 and 12.90 days, respectively). In addition, the flower stem end of 6 cm length of both ethanol treatments showed minimum contamination of the microorganisms. Keywords: ethanol, sucrose, cut chrysanthemum, vase life

วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152