การจัดการความรู้ในการผลิตกุ้งขาวแวนาไม กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี

การจัดการความรู้ในการผลิตกุ้งขาวแวนาไม กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี

The Knowledge Management of White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Production, Case study in Phetchaburi

--------------------------------------------

โดย จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ , เสนาะ กลิ่นงาม , วราห์ เทพาหุดี n และสมสุข แขมคำ1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2016-07-04 10:11:20

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการเลี้ยงและปัญหาอุปสรรค (3) การจัดการฟาร์ม (4)การจัดการความรู้ จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 171 คน (จากทั้งหมด 233 คน) แบ่งเป็นฟาร์มที่มีผลกำไรสูง 9 ฟาร์ม และฟาร์มที่มีผลกำไรต่ำ 162 ฟาร์ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.55 ปี จบการศึกษา ในระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้งเฉลี่ย 10.36 ปี เลี้ยงกุ้งขาวเป็นอาชีพหลัก ขนาดบ่อเฉลี่ย 4.34 ไร่ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P0.05) สภาพพื้นที่การเลี้ยงรวมถึงปัจจัยการผลิตที่ใช้ ไม่แตกต่างกัน เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงกุ้ง 3 รอบต่อปี ในน้ำความเค็ม 0-20 ส่วนในพัน เลี้ยงแบบเปลี่ยนถ่ายน้ำน้อย มีการพักน้ำ ตากบ่อและลอกเลนเป็นบางครั้ง ซื้อลูกกุ้งและอาหารผ่านตัวแทนจำหน่าย โรคระบาดจากไวรัสเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด ฟาร์มที่มีผลกำไรสูงมีระดับการปฏิบัติที่ดี (GAP) ที่เข้มข้นกว่าฟาร์มที่มีผลกำไรต่ำ (P≤0.05) และมีการจัดการฟาร์มแบบพัฒนา โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ คือ ปริมาณผลผลิต อัตราปล่อยและผลตอบแทน

Abstract

The aims of study were to investigate (1) the socio-economic conditions; (2) farming conditions and related problems; (3) farm management(4) knowledge management of white shrimp(Litopenaeus vannamei) production. A hundred and seventy-one representative shrimp farmers (from 233 registered farmers) were randomly selected. The sample population consisted of 9 high-profit farms and162low-profit farms. Data were collected using questionnaires. The results showed that the majority of farmers were male; mean age 47.55; with primary level education and 10.36years experience in shrimp farm operation. Shrimp farming was their primary occupation. The average pond size was not significantly different(P0.05). The farm conditions and sources of input were not different. Most farms produced 3 batches of shrimp a year and used water with salinity 0-20 parts per thousand. Most farms used a system of infrequent water circulation. They used holding ponds and sedimentation ponds and cleaned and dried occasionally. Farmers bought post-larva shrimp and pelleted feed from dealers. Viral diseases were the most common problem. For farm management, high-profit farms were more significantly intensive than low-profit farms to engage in GAP (P≤0.05).There are three main factors that affect knowledge management which include Income, yield and shrimp density.

วารสารปีที่ 14 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152