ผลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะชุมชน ต่อการผลิตขาวโพดขาวเหนียวแฟนซีสีมวงพันธุ 111
ผลของปุ๋ยอินทรีย์ที่มาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะชุมชน ต่อการผลิตขาวโพดขาวเหนียวแฟนซีสีมวงพันธุ 111
Effect of Organic Fertilizer from Agricultural Waste and Community Waste on Purple Waxy Corn (Khow Niaw Fancy Muang 111) Production
--------------------------------------------
โดย นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน* สุจิตรา สืบนุการณ์ และ นิภาพร สุดามาตร์
ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2021-06-28 10:43:23
ดาวน์โหลด
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบผลของปุยอินทรีย์ที่มาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะชุมชนตอการเจริญเติบโตและผลผลิตของขาวโพดขาวเหนียวแฟนซีสีมวงพันธุ 111 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 50 ต้น ขนาดแปลง กว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 (อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่) กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยมูลไก่ (อัตรา 600 กิโลกรัม/ไร่) กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ (อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่) กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักซังข้าวโพด (อัตรา 250 กิโลกรัม/ไร่) และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ ( อัตรา 3,000 กิโลกรัม/ไร่) ผลการทดลอง พบว่า ในระยะแรกของการเจริญเติบโต กลุ่มทดลองที่ 1 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น และน้ำหนักฝักสดพร้อมเปลือกเฉลี่ย (กิโลกรัมต่อไร่) มากที่สุด คือ 96.39 เซนติเมตร และ 3,635.56 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มให้จำนวนวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ และอายุการเก็บเกี่ยวเร็วที่สุด คือ 44.67 และ 70.67 วัน ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มให้จำนวนฝักสมบูรณ์ น้ำหนักแห้งลำต้นเฉลี่ย และน้ำหนักฝักสดพร้อมเปลือก (กรัมต่อฝัก) มากที่สุด เท่ากับ 1.38 ฝักต่อต้น 234.67 กรัมต่อต้น และ 308.67 กรัมต่อต้น ตามลำดับ แต่ถ้าต้องการให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดี ในช่วงหลังจากออกไหม ควรเปลี่ยนมาใส่ปุ๋ย มูลไก่แทน เนื่องจากมีน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก (กิโลกรัมต่อไร่) และผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมากที่สุด คือ 2,241.81 กิโลกรัมต่อไร่ และ 32.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
คำสำคัญ: ปุ๋ยอินทรีย์, วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร, ข้าวโพดขาวเหนียว
Abstract
The objective of this research was to compare the effect agricultural waste and Community waste on Purple Waxy Corn (Khow Niaw Fancy Muang 111) production. The experiment was laid out in Randomized Complete Block Design (RCBD) with 3 replications. Each replication consisted of 50 plants on 3 x 3 m2 bed. There were 5 treatments such as T1: application of 15 – 15 – 15 and 46 – 0 – 0 chemical fertilizer formular at 50 kg/rai each; T2: application of chicken manure at 600 kg/rai; T3: application of Bogachi at 200 kg/rai; T4: application of corn cob compost at 250 kg/rai; T5: application of Maejo compost at 3000 kg/rai. At the earlier growth stage, T1 was most appropriate. This treatment resulted in 96.39 cm plant height and yield of 3635.56 kg/rai. The treatment also tended to result in 50% flowering date and harvesting date at 44.67 and 70.67 days, respectively. T1 also tended to result in the highest number of complete ear, average plant dry weight, and fresh weight of ear with husk at 1.38 ears/plant, 234.67 g/plant and 308.67 g/ear, respectively. However, if better quality after flowering is needed then T2 is more appropriate. This due to the highest results in fresh weight of ear without husk yield and grade A yield at 2241.81 kg/rai and 32.67%, respectively.
Keywords: Organic Fertilizer, Agricultural Waste, Waxy Corn