ผลผลิตของเห็ดนางรมฮังการี (Pleurotus ostreatus) ที่เพาะด้วยฟางข้าวที่ผ่านการหมักในน้ำเย็นและการหมักในน้ำปูนขาว

ผลผลิตของเห็ดนางรมฮังการี (Pleurotus ostreatus) ที่เพาะด้วยฟางข้าวที่ผ่านการหมักในน้ำเย็นและการหมักในน้ำปูนขาว

Yield of Oyster Mushroom (Pleurotus ostreatus) Cultivated in Rice Straw with Cold Fermentation and Lime Bath Treatment

--------------------------------------------

โดย เสกสรร ชินวัง

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2022-06-28 15:12:57

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งายวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาปริมาณหัวเชื้อเห็ดต่อผลผลิตเห็ดนางรมที่เพาะในฟางข้าวที่ผ่านการหมักในน้ำเย็นและเพื่อศึกษาปริมาณหัวเชื้อเห็ดต่อผลผลิตเห็ดนางรมที่เพาะในฟางข้าวที่ผ่านการหมักในน้ำปูนขาว การศึกษาครั้งนี้พบว่าการเตรียมฟางข้าวโดยการหมักในน้ำเย็นและการหมักในน้ำปูนขาวนั้นสามารถนำไปเพาะเห็ดนางรมได้ โดยผลที่ได้นั้นพบว่าการหมักในน้ำเย็นที่ใส่เชื้อเห็ดร้อยละ 5 10 15 และ 20 และการหมักในน้ำปูนขาวที่ใส่เชื้อเห็ดร้อยละ 5 10 15 และ 20 นั้นให้ผลผลิตเห็ดที่แตกต่างกันออกไปเมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมวัสดุเพาะโดยการนึ่งไอ้น้ำ(กรรมวิธีควบคุม) โดยผลผลิตที่ได้คือ 19.13 26.73 31.97 38.15 31.05 48.15 51.00 63.98 และ 79.15 กรัมตามลำดับ ซึ่งผลที่ได้นี้อาจจะเป็นผลสะท้อนของความแตกต่างกันของถุงก้อนเชื้อเห็ดที่เกิดการปนเปื้อนก็ได้ โดยการปริมาณการปนเปื้อนนั้นมีร้อยละ 53.33 26.67 26.67 86.67 60.00 20.00 20.00 และ 0.00 ตามลำดับ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการเตรียมวัสดุเพาะโดยการหมักในน้ำปูนขาวและใช้เชื้อเห็ดที่ร้อยละ 20 นั้นอาจจะสามารถนำมาใช้ได้ในการเพาะเห็ดเพื่อการค้าได้เพราะผลผลิตที่ได้นั้นก็ใกล้เคียงกับกรรมวิธีควบคุมและการปนเปื้อนของก้อนเชื้อเห็ดนั้นก็ต่ำที่สุดในกรรมวิธีทั้งหมดยกเว้นกรรมวิธีควบคุม คำสำคัญ: เห็ดนางรม ฟางข้าว ผลผลิต การหมักในน้ำเย็น การหมักในน้ำปูนขาว

Abstract

This research aimed to study the effect of grain spawn amount on rice straw treated with cold fermentation and lime bath treatment. The study found that rice straw prepared by cold fermentation and lime bath treatment could be used to cultivate oyster mushroom. It was found that cold fermentation rice straw with 5, 10, 15, and 20 percent grain spawn and lime bath treatment rice straw with 5, 10, 15, and 20 percent grain spawn showed different mushroom yields when compared with rice straw prepared by steam pasteurization. The yields were 19.13 26.73 31.97 38.15 31.05 48.15 51.00 63.98 and 79.15 grams, respectively. The results may reflect the different in the contamination percentage of the mushroom bags which are 53.33 26.67 26.67 86.67 60.00 20.00 20.00 and 0.00 percent, respectively. Therefore, it can be concluded that the substrate prepare by lime bath method with 20 percent grain spawn can be use in commercial mushroom production. This due to the similar yield to control and lowest contamination percentage in all methods except control. Keywords: Oyster mushroom, rice straw, yield, cold fermentation, lime bath method

วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

185