การฟื้นฟูทรัพยากรพืชพื้นบ้านกับความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน ริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย

การฟื้นฟูทรัพยากรพืชพื้นบ้านกับความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน ริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย

Restoration Native Plant Resources towards Communities Food Security in Lower Mekong River Bank of Thailand

--------------------------------------------

โดย วลัยพรรณ ชินชัยสิรภัทร

ผู้แต่งร่วม สุพรรนี อะโอกิ

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 13:32:58

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

ป่าเป็นแหล่งที่อยู่ของพืชในสภาพธรรมชาติ เมื่อพื้นที่ป่าถูกแปรสภาพทำให้พืชพื้นบ้านหลายชนิดมีปริมาณลดลงจนอาจเลือนหายไปจากวิถีชีวิตชุมชน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรพืชพื้นบ้านของชุมชน 2) แนวทางการส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรพืชพื้นบ้านไปสู่การปฏิบัติ 3) สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน และ 4) การจัดทำข้อมูลทรัพยากรพืชพื้นบ้านของชุมชน พื้นที่ศึกษา 3 หมู่บ้าน คือ บ้านเวินบึก บ้านห้วยหมากใต้ และบ้านท่าแพ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมิถุนายน 2561 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ปราชญ์ชาวบ้าน และตัวแทนเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐในพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสำรวจความมั่นคงด้านอาหาร แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรพืชพื้นบ้านของชุมชน มีดังนี้ การลดปริมาณการทำลายทรัพยากรพืชพื้นบ้าน การรณรงค์การปลูกพืชทดแทน การใช้ทรัพยากรพืชพื้นบ้านอย่างคุ้มค่าและการกำหนดมาตรการทางสังคมเพื่อการอนุรักษ์ 2. แนวทางการส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรพืชพื้นบ้านไปสู่การปฏิบัติของชุมชนมีดังนี้ วิธีการใช้ประโยชน์ที่ดินและผืนป่า รูปแบบการส่งเสริมการขยายพันธุ์พืชและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ต่อการใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุดและกระบวนการปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมเพื่อการอนุรักษ์ 3 หมู่บ้านเวินบึกมีระดับความมั่นคงด้านอาหารสูงสุดตามตัวชี้วัดที่ 1 ด้านการพึ่งตนเองด้านอาหาร มีคะแนนเฉลี่ย 2.79 หรือร้อยละ 55.87 ส่วนหมู่บ้านท่าแพและหมู่บ้านห้วยหมากใต้มีระดับความมั่นคงด้านอาหารสูงสุดตามตัวชี้วัดที่ 5 การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ คือมีคะแนนเฉลี่ย 3.18 หรือร้อยละ 63.60 และ 3.40 หรือร้อยละ 68.00 ตามลำดับ 4. วิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรพืชพื้นบ้านของชุมชนและจำแนกตามการใช้ประโยชน์ 5 ด้าน คือ 1) พืชอาหาร 2) สมุนไพร 3) ไม้ผล 4) เห็ด และ 5) การถนอมอาหาร คำสำคัญ: การฟื้นฟู, ทรัพยากรพืชพื้นบ้าน, ความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน, ชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนล่าง

Abstract

Forests are natural habitats for plants. When the forests are transformed, native plants are decreased and almost disappeared from the community life cycle. This study aimed to investigate: 1) how to restore the native community plant resources; 2) how to promote and restore the native community plant resources; 3) the community food security situation; and 4) to establish an information system of the native community plant resources. The study area covered three villages: Wern Buek, Huai Mark Tai, and Thah Phae, Khong Chiam district, Ubon Ratchathani province. The study started from October 2016 to June 2018. The samples were community leaders, village representatives, public health volunteers (Or Sor Mor), local scholars, and representatives of relevant government offices. The instruments consisted of a survey form on community food security, an interview form, and a group meeting record. The data were analyzed using mean, standard deviation, and content analysis.The research findings were as follows: 1.How to restore the native community plant resources were: decreasing destruction of native community plant resources, making a campaign to grow substitute plants, using native plant resources effectively, and setting up social measures for plant conservation. 2. How to promote and restore the native community plant resources were: utilizing land and forests, plant breeding and conservation of plant species, setting up awareness in utilizing natural resources for most benefits, and setting up a process to follow the social measures for plant conservation. 3.Wern Buek village had the highest level of food security based on Indicator 1: food self- dependence, with 2.79 points or 55.87%. Thah Phae and Huai Mark Tai villages had the highest level of food security based on Indicator 5: accessing quality food with 3.18 points or 63.60%, and with 3.40 points or 68.00% respectively. 4. The information system of native plant resources analyzed and classified by utilization was of five kinds: (1) food plants, (2) herbal plants, (3) fruit plants, (4) mushrooms, and (5) food conservation. Keywords: Restoration, Native Plant Resources, Community Food Security, Lower Mekong River Bank of Thailand

วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

185