การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแคลเซียมผงจากก้างปลานิล โดยใช้วิธีพื้นผิวตอบสนอง
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแคลเซียมผงจากก้างปลานิล โดยใช้วิธีพื้นผิวตอบสนอง
Optimization of Calcium Powder Production from Tilapia Fish Bones Using Response Surface Methodology
--------------------------------------------
โดย ขนิษฐา หวังดี1*
ผู้แต่งร่วม กรรณิการ์ พุ่มทอง2 และอนุชตรา วรรณเสวก3
ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 13:35:49
ดาวน์โหลด
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตแคลเซียมจากก้างปลานิลที่เหมาะสมโดยใช้วิธีพื้นผิวตอบสนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตแคลเซียมผงจากก้างปลานิลซึ่งเป็นเศษเหลือจากกระบวนการแปรรูปอาหารและอุตสาหกรรมอาหารที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมมากที่สุด ออกแบบการทดลองด้วยเทคนิคการออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken design 3 ปัจจัย 3 ระดับ จำนวน 17 ทรีตเมนต์ ซึ่งปัจจัยที่ทำการศึกษา ประกอบด้วย ความเข้มข้นของสารละลาย NaOH (1.0-2.0 เปอร์เซ็นต์) (X1) อุณหภูมิการสกัด (100-120 องศาเซลเซียส) (X2) และระยะเวลาที่ใช้ในการสกัด (30-60 นาที) (X3) โดยกระบวนการสกัดดำเนินการด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) ซึ่งตัวแปรตามของการศึกษา คือ ปริมาณแคลเซียม (mg/g) และวิเคราะห์สภาวะที่เหมาะสมด้วยวิธี RSM พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณแคลเซียม (mg/g) คือ โมเดลเชิงเส้นตรง (อุณหภูมิ: X2) ซึ่งมีอิทธิพลต่อค่าสังเกตในเชิงบวก และโมเดลกำลังสอง (X12 , X32 , X32) ซึ่งมีอิทธิพลต่อค่าสังเกตในเชิงลบ และปัจจัยด้านอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัย X1 X2 (อุณหภูมิและความเข้มข้นของสารละลาย NaOH) มีอิทธิพลต่อค่าสังเกตในเชิงบวก ได้สมการในการสกัดที่มี ค่า R2 เท่ากับ 0.948 ซึ่งมีค่าใกล้เคียง 1 แสดงให้เห็นถึงความแม่นยำและน่าเชื่อถือของสมการ และ ปริมาณแคลเซียม (mg/g) ที่พยากรณ์ได้ คือ 19.37 mg/g เมื่อทำการทวนสอบ (Validation) สภาวะการผลิตโดยทำการปรับระดับสภาวะการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตได้จริง คือ NaOH 1.62 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิการสกัด 112.50 องศาเซลเซียส นาน 45.15 นาที ได้แคลเซียมผงจากก้างปลานิล มีปริมาณแคลเซียม ประมาณ 19.10 mg/g
คำสำคัญ: ก้างปลานิล ผงแคลเซียม พื้นผิวตอบสนอง สภาวะที่เหมาะสม
Abstract
The aim of this study was to investigate the optimization of calcium powder production from tilapia fish bones. There are three factors and 3 levels for Box-Behnken design experiment for 17 treatments. The factors consisting of NaOH concentration (1.0-2.0%) (X1), extraction temperature (100-120 C) (X2) and extraction time (30-60 minutes) (X3) were determined. The influence of three independent variables towards Calcium content (mg) was reported through the significant (p ≤ 0.05) coefficient of the second-order polynomial regression equation. The effect of extraction temperature (X2) was significant (p ≤ 0.05) in first-order linear effect (X2), second-order quadratic effect (X12, X32, X32) and interactive effect (X1 X2). The optimal condition of calcium powder production was 1.62% of NaOH, 112.50 C extraction temperature and 45.15 minutes of extraction time, which gave the highest calcium about 19.10 mg/g. The regression coefficient (R2 = 0.948) indicated a good fit between the experimental and predicted yield data. An R2 value closer to one denotes a better correlation. Validation of the production conditions by adjusting to be able to produce actual NaOH 1.62 percent, extraction temperature 112.50 C, for 45.15 minutes, the highest calcium powder extraction from tilapia fish bones was 19.10 mg/g.
Keywords: Tilapia fish bones, calcium powder, Response surface methodology, optimization