การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของผลผลิตมะเขือเทศสีดาลูกผสม เพชรชมพู F1
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของผลผลิตมะเขือเทศสีดาลูกผสม เพชรชมพู F1
Comparison of Biological Materials Efficiency on Growth and Quality of Tomato (Solanum lycopersicum L. var. Seeda ‘phedchompoo F1’
--------------------------------------------
โดย นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน , สุจิตรา สืบนุการณ์ , ประภัสสร สมบัติศรี , จิรพงษ์ หงส์คำ และสมศักดิ์ ชอบด
ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2016-07-04 10:05:55
ดาวน์โหลด
บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพ ของผลผลิตมะเขือเทศสีดาลูกผสม เพชรชมพู F1 ได้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง โดยผลการทดลองที่ 1 พบว่า กลุ่มทดลองที่ 2 การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนผลผลิตเฉลี่ย ต่อต้น ขนาดผลเฉลี่ย ผลเกรด C น้ำหนักเฉลี่ยของผล และความแน่นเนื้อเฉลี่ยของผลมากที่สุด และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีพบว่า ผลผลิตส่วนมากอยู่ในเกรด D และผลการทดลองที่ 2 พบว่า การใช้ไคโตซานมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมะเขือเทศสูงที่สุด มีน้ำหนักผล ขนาดของผล และความแน่นเนื้อเฉลี่ยของผลมากที่สุด นอกจากนี้ผลผลิตส่วนมากอยู่ในเกรด B เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำหมักผลไม้ พบว่ามีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักผล ขนาดของผล และความแน่นเนื้อเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนผลผลิตรวมเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนค่าสีผิว (L* และ b*) และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (% TSS) ทุกกลุ่มทดลองไม่มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นค่าสีผิว (a*) พบว่าการใช้สปีดเวย์และชุดควบคุม ผลิตผลจะมีสีแดงเข้มและมีค่ามากกว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ และเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ฉีดสารอินทรีย์ชีวภาพ พบว่า ทุกกลุ่มทดลองที่มีการฉีดสารอินทรีย์ชีวภาพ ให้ผลดีกว่าในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
Abstract
Comparison of Biological Materials Efficiency on Growth and Quality of Tomato (Solanum lycopersicum L. var. Seeda ‘phedchompoo F1’