ความรู้ พฤติกรรมและอิทธิพลจากสื่อสารมวลชนกับการบริโภคอาหาร ของนักเรียนโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ความรู้ พฤติกรรมและอิทธิพลจากสื่อสารมวลชนกับการบริโภคอาหาร ของนักเรียนโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Knowledge, Behavior and Effect of Media on Food Consumption of Students in Schools Inside Muang District, Ubon Ratchathanee Province

--------------------------------------------

โดย

ผู้แต่งร่วม ธีรศักดิ์ สาประวัติ1 พัชรินทร์ คำแพง1 ศุภากร คำภารัตน์1 และ กิตธวัช บุญทวี1 Teerasak Saprawat1 Patcharin Kumpang1 Supakorn Khamparat1 and Kittawat Boonthawee1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-01-08 15:24:15

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ พฤติกรรมและอิทธิพลจากสื่อสารมวลชนกับการบริโภคอาหารของนักเรียนโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 คน ผลการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 75.25 และเพศชายคิดเป็นร้อยละ 24.75 ส่วนใหญ่ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index ; BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่ระหว่าง 18.50–22.90 คิดเป็นร้อยละ 51.00 ส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง เป็นผู้ที่ได้คะแนนระหว่าง 0.67–1.33 คิดเป็นร้อยละ 60.25 ส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง เป็นผู้ที่ได้คะแนนระหว่าง 60-79 คิดเป็นร้อยละ 41.25 และนักเรียนได้รับอิทธิพลจากสื่อสารมวลชนมากที่สุดอยู่ในระดับระดับปานกลาง เป็นผู้ที่ได้คะแนน 0.67–1.33 คิดเป็นร้อยละ 45.75 ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการบริโภคอาหารรวมทั้งส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น คำสำคัญ: ความรู้ พฤติกรรม อิทธิพลสื่อ การบริโภคอาหาร

Abstract

This study aims to investigate knowledge, behavior and effect of media on food consumption of students in schools inside Muang District, Ubon Ratchathani province. This is a quantitative research which employs descriptive statistics i.e. percentage, means and standard deviation. The samples are 400 students from several schools in Muang District during the academic year of 2561. The study revealed that 75.25 are females and 24.75 are males. Fifty-one percent had normal body mass index (18.50 – 22.90). Most that received medium consumption behavior scored of 0.67 – 1.33 was 60.25%. Most that received medium consumption knowledge scored of 60 - 79 was 41.25%. And most of the students (45.75) that were influenced by the mass media were in the middle level with scores of 0.67 – 1.33. Therefore, consumption knowledge, behavior adjustment, and exercising will lead to appropriate healthy behavior, and better nutritional status. Keywords: knowledge, behavior, media effect, food consumption

วารสารปีที่ 18 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152